มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (ตอนที่ 2)

เกณฑ์ข้อกำหนดการใช้เครื่องหมาย Q Premium กับสินค้าเกษตรและอาหารแต่ละชนิด (ต่อ)

2.ธัญพืชและพืชอื่นๆ

2.1 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของข้าวหอมมะลิ

2.1.1 ระบบการผลิตระดับฟาร์มได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP (มกอช. 4400-2546)

2.1.2 ระบบการผลิตของการสีและบรรจุได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP (Codex CAC/RCP 1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999)

2.1.3 ข้าวหอมมะลิผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง ข้าวหอมมะลิไทย (มกอช. 4000-2546) ข้อ 3.1 คุณภาพขั้นต่ำทุกข้อ รวมทั้งผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเรื่องการบรรจุการแสดงเครื่องหมายหรือฉลาก สารปนเปื้อน สารพิษตกค้าง และสุขลักษณะ

2.1.4 คุณลักษณะพิเศษ

2.1.4.1 เป็นข้าวชนิดข้าว 100%
2.1.4.2 มีข้าวหอมมะลิไม่ต่ำกว่า 95%

2.1.5 ข้าวหอมมะลิคงกลิ่นหอมไว้ได้ โดยผู้ผลิตมีการควบคุมกระบวนการผลิต การบรรจุ อายุสินค้า และการระบุวันที่ควรบริโภคก่อน (best before) ที่จะทำให้สามารถมั่นใจในคุณภาพความหอมของข้าวได้

3. สินค้าประมง

3.1 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของปลานิล

3.1.1 ระบบการผลิตระดับฟาร์มได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP (มกอช. 7405-2547)

3.1.2 ระบบการผลิตของโรงงานคัดบรรจุ แปรรูป ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP และ HACCP (Codex CAC/RCP1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999 and 2003)

3.1.3 ผลผลิตผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง ปลานิล (มกอช. 7001-2547) ข้อ 3.1 คุณภาพขั้นต่ำที่ยอมรับได้ ทุกข้อ และมีคุณภาพเป็นไปตามคุณภาพชั้นพิเศษ (extra class) ข้อ 3.2.1 โดยไม่มีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน และไม่มีตำหนิ รวมทั้งผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเรื่องการบรรจุผลิตผล สารปนเปื้อน ยาสัตว์ตกค้าง สุขลักษณะ และเครื่องหมายหรือฉลาก

3.1.4 คุณลักษณะพิเศษ

3.1.4.1 มีการกำหนดสัดส่วนปริมาณของเนื้อ (ค่าต่ำสุดของ % yield)

3.1.4.2 มีการกำหนดขนาดขั้นต่ำ (ไม่ต่ำกว่าตัวละ 300 g)

3.1.4.3 มีการกำหนดค่าความสด เช่น TVB หรือค่า K เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินคุณภาพสำหรับการให้เครื่องหมายรับรอง Q Premium

3.2 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของปลาแล่เยือกแข็ง

3.2.1 ปลาที่ใช้ทำปลาแล่เยือกแข็ง กรณีที่มาจากการเพาะเลี้ยง ฟาร์มเพาะเลี้ยงได้รับการรับรองระบบ GAP กรณีปลาที่จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือมาจากปลาที่ผ่านการทำเยือกแข็งมาแล้ว หรือเป็นวัตถุดิบนำเข้า มีคุณภาพด้านความปลอดภัย และมีการเก็บรักษาที่เหมาะสม ตามเกณฑ์ของหน่วยตรวจสอบรับรอง

3.2.2 ระบบการผลิตของโรงงานแปรรูป ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP และ HACCP (Codex CAC/RCP1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999 and 2003)

3.2.3 ผลิตภัณฑ์ปลาแล่เยือกแข็ง เป็นไปตามมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง ปลาแล่เยือกแข็ง (มกอช.7014-2548)

3.2.4 คุณลักษณะพิเศษ

3.2.4.1 มีการกำหนดค่าความสดของผลิตภัณฑ์ปลาแล่เยือกแข็ง (TVB-N หรือค่า K)

3.2.4.2 ไม่มีการใช้สารประกอบฟอสเฟต โดยผู้ผลิตมีฐานข้อมูลของผลการวิเคราะห์สารประกอบฟอสเฟตตาม ธรรมชาติของปลาแต่ละชนิดที่นำมาแล่

3.2.4.3 ไม่พบข้อบกพร่อง (ตามที่ระบุในมาตรฐาน มกอช.7014-2548) คือ การสูญเสียน้ำ สิ่งแปลกปลอม ปรสิต ก้าง กลิ่น และรส ลักษณะเนื้อผิดปกติโดยสรุป ดังนี้

ตารางที่ 4 ข้อบกพร่องของปลาแล่เยือกแข็ง

ข้อบกพร่อง
1.การสูญเสียน้ำมาตรฐานที่พื้นที่ผิวต่อตัวอย่าง >10% หรือตามน้ำหนักบรรจุที่ระบุในมาตรฐาน
ไม่พบ
2.สิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ชิ้นส่วนของปลา
ไม่พบ
3.ปรสิต (ชนิด Capsular เส้นผ่านศูนย์กลาง >3 mm หรือชนิด uncapsular ที่ยาว >10mm)  2ตัวต่อตัวอย่าง 1 kg
ไม่พบ
4.ปลาแล่ไม่มีก้าง มีก้าง (ยาว 10mm หรือ   1mm) >1 ก้าง/kg
ไม่พบ
5.กลิ่นและรสไม่พึงประสงค์
ไม่พบ
6.ลักษณะเนื้อผิดปกติ (เป็นเมือกวุ้นปริมาณความชื้น >86% หรือเนื้อนิ่มเละ >5% ต่อน้ำหนักหน่วยตัวอย่าง)
ไม่พบ

3.3 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของกุ้งก้ามกราม

3.3.1 ระบบการผลิตโรงเพาะฟักและฟาร์ม ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน Code of Conduct (CoC)

3.3.2 กุ้งที่จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติ แหล่งน้ำธรรมชาตินั้นได้รับการรับรองจากหน่วยตรวจสอบรับรองและมีระบบติดตามสินค้าหรือสอบกลับแหล่งที่มาได้

3.3.3 ระบบการผลิตของโรงคัดบรรจุ สถานแปรรูปเบื้องต้น และหรือศูนย์กระจายสินค้า ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบ GMP และ HACCP (Codex CAC/RCP1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999 and 2003)

3.3.4 ผลผลิตผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง กุ้งก้ามกราม (มกอช. 7002-2548) ข้อ 4.1 คุณภาพทั่วไปที่ยอมรับได้ ทุกข้อ และมีคุณภาพเป็นไปตามคุณภาพชั้นพิเศษ (extra class) ข้อ 4.2.1 โดยไม่มีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน และไม่มีตำหนิ รวมทั้งผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเรื่องการจัดเสนอผลิตผล สารปนเปื้อน ยาสัตว์ตกค้าง สุขลักษณะ และเครื่องหมายหรือฉลาก

3.3.5 คุณลักษณะพิเศษ

3.3.5.1 มีขนาดใหญ่ โดยจำนวนไม่เกิน 10 ตัว/kg

3.3.5.2 มีการกำหนดสัดส่วนปริมาณของเนื้อ (ค่าต่ำสุดของ % yield)

3.3.5.3 มีการกำหนดค่าความสด เช่น TVB-N หรือค่า K

3.4 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของปูม้า

3.4.1 ระบบการผลิตของโรงคัดบรรจุ สถานแปรรูปเบื้องต้น และหรือศูนย์กระจายสินค้า ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GMP และ HACCP (Codex CAC/RCP1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999 and 2003)

3.4.2 ผลผลิตผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง ปูม้า ข้อ 4.1 ข้อกำหนดทั่วไปทุกข้อ โดยปูตัวมีคุณภาพเป็นไปตามชั้นพิเศษ (extra class) ข้อ 4.2.1.1(1) และเนื้อปูมีคุณภาพเป็นไปตามชั้นพิเศษ (extra class) ข้อ 4.2.1.2(1) และไม่มีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อน รวมทั้งผ่านเกณฑ์ตามข้อกำหนดเรื่องการบรรจุ สารปนเปื้อน สุขลักษณะ และเครื่องหมายหรือฉลาก

3.4.3 ปฏิบัติตามคำแนะนำวิธีการจับ การปฏิบัติบนเรือประมง การดูแลหลังการจับ และการขนส่งที่เหมาะสมสำหรับปูม้า ในภาคผนวก ฉ ของมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง ปูม้า

3.4.4 คุณลักษณะพิเศษ

3.4.4.1 มีการกำหนดสัดส่วนปริมาณของเนื้อ (ค่าต่ำสุดของ % yield)

3.4.4.2 มีการกำหนดค่าความสด เช่น TVB-N หรือค่า K

3.4.4.3 มีการระบุความแน่นเนื้อ (น้ำหนักต่อขนาดตัว)

3.4.4.4 ปูตัว มีขนาดใหญ่ โดยจำนวนไม่เกิน 4 ตัว/kg

3.4.4.5 เนื้อปูก้อน มีขนาดใหญ่ โดยไม่ต่ำกว่า 10 g/ชิ้น และมีเนื้อก้อนแตกไม่เกิน 5 %

3.5 เกณฑ์ข้อกำหนด Q Premium ของกุ้งเยือกแข็ง

3.5.1 กุ้งที่ใช้ทำกุ้งเยือกแข็ง กรณีที่มาจากการเพาะเลี้ยง ฟาร์มเพาะเลี้ยงได้รับการรับรองตามมาตรฐาน Code of Conduct (CoC) กรณีกุ้งที่จับจากแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือเป็นวัตถุดิบนำเข้า มีคุณภาพด้านความปลอดภัย และมีการเก็บรักษาที่เหมาะสม ตามเกณฑ์ของหน่วยตรวจสอบรับรอง

3.5.2 การจับจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการทำการประมงอย่างมีความรับผิดชอบ (Code of Conduct for Responsible Fisheries) และมีระบบติดตามสินค้าหรือสอบกลับแหล่งที่มา

3.5.3 ระบบการผลิตของโรงงานแปรรูป ผ่านการรับรองตามมาตรฐาน GMP และ HACCP (Codex CAC/RCP1-1969, Rev.3-1997, Amended 1999 and 2003)

3.5.4 ผลิตภัณฑ์กุ้งเยือกแข็ง เป็นไปตามมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เรื่อง กุ้งเยือกแข็ง

3.5.5 คุณลักษณะพิเศษ

3.5.5.1 มีการกำหนดค่าความสดของผลิตภัณฑ์กุ้งเยือกแข็ง (TVB-N หรือค่า K)

3.5.5.2 ไม่มีการใช้วัตถุเจือปนอาหารประเภทสารประกอบฟอสเฟต

3.5.5.3 ไม่พบข้อบกพร่อง (ตามที่ระบุในมาตรฐาน) คือ การสูญเสียน้ำ สิ่งแปลกปลอม กลิ่นและรสไม่พึงประสงค์ การเปลี่ยนสี โดยสรุปดังนี้

ตารางที่ 5 ข้อบกพร่องของกุ้งเยือกแข็ง

ข้อบกพร่อง
1.การสูญเสียน้ำ (deep dehydration) >10% โดยน้ำหนักต่อ หน่วยตัวอย่าง หรือ >10% ของพื้นที่ผิวของ block
ไม่พบ
2.สิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ชิ้นส่วนของกุ้ง
ไม่พบ
3.กลิ่นและรสไม่พึงประสงค์
ไม่พบ
4.การเปลี่ยนสีของกุ้งเกิด >10%ของพื้นที่ผิวต่อชิ้นกุ้งและ เกิดขึ้น >25% ของหน่วยตัวอย่าง
ไม่พบ

 

ที่มา : สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์