มก.คิดสารป้องกันยางเสื่อมสภาพจากแทนนินของปาล์ม ลดการนำเข้าสารต่างประเทศ
��Ǵ���� : �����ɵ� ������ѹ��� 24 ���Ҥ� 56
นับตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยได้ก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางพาราเป็นอันดับ 1 ของโลก จากการสำรวจเมื่อปี 2537 พบว่า มีพื้นที่ปลูกยางพาราประมาณ 11.9 ล้านไร่ ผลิตยางได้ 1.72 ล้านตัน สามารถส่งออกขายยังต่างประเทศได้ถึง 1.6 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 41,352 ล้านบาท ดังนั้น ยางพาราจึงเป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ สามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศได้มากพืชหนึ่งน้ำยางข้นส่วนหนึ่งจะถูกส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศ ส่วนที่เหลือจะถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมถุงมือยาง ถุงยางอนามัย และยางรถยนต์ เป็นต้น ถึงแม้ว่ายางธรรมชาติจะมีความยืดหยุ่นสูง (Elasticity) การเหนียวติดกัน(Tack) อย่างไรก็ตาม ยางดิบตามลำพังจะมีขีดจำกัดในการใช้งาน เนื่องจากมีสมบัติเชิงกลต่ำ และลักษณะทางกายภาพจะไม่เสถียรขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงแปลงอุณหภูมิมาก กล่าวคือยางจะอ่อนเยิ้มและเหนียวเหนอะหนะเมื่อร้อน แต่จะแข็งเปราะเมื่ออุณหภูมิต่ำ ...
��ҹ���ǹ���ͷ�� หนังสือพิมพ์แนวหน้า
��ҹ���ǹ���ͷ�� หนังสือพิมพ์แนวหน้า