บทคัดย่องานวิจัย

ผลของสารประกอบคาร์บอเนตและไบคาร์บอเนตต่อคุณภาพและการควบคุมเชื้อรา Lasiodiplodia sp. และ Pestalotiopsis sp. บนผลลำไยหลังการเก็บเกี่ยว

กัลยา วิธี

วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540. 95 หน้า.

2540

บทคัดย่อ

ผลของสารประกอบคาร์บอเนต และไบคาร์บอเนตต่อคุณภาพและการ ควบคุมเชื้อรา Lasiodipiodia sp. และ Pestalotiopsis sp. บนผลลำไย หลังการเก็บเกี่ยว

ผลของสารประกอบคาร์บอเนตและไบคาร์บอเนตของโพแทสเซี่ยม โซเดี่ยม และแอมโมเนียม ต่อการเจริญของเส้นใยของเชื้อรา Lasiodipiodia sp. และ Pestalotiopsis sp. ที่ผสมลงในอาหาร PD/4A โดยใช้ความเข้มข้น 50 100 และ 200 mM (มิลลิโมล) การใช้สารโพแทสเซี่ยมคาร์บอเนต โซเดี่ยม-คาร์บอเนต แอมโมเนียมคาร์บอเนต และแอมโมเนียมไบคาร์บอเนต ทั้งสามความเข้มข้น มีผลทำให้เส้นใยของเชื้อราทั้งสองชนิดหยุดการเจริญ(ตาย) และสารโพแทสเซี่ยมไบคาร์บอเนต และโซเยมไบคาร์บอเนต มีผลลดการเจริญของเส้นใยของเชื้อราทั้งสองชนิด โดยมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเมื่อใช้สารความเข้มข้นสูง

การศึกษาผลของสารโพแทสเซี่ยมคาร์บอเนต โซเดี่ยมคาร์บอเนต แอมโมเนียมคาร์บอเนต และแอมโมเนียมไบคาร์บอเนต ความเข้มข้น 50 100 200 400 และ 800 mM ต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลลำไยพันธุ์ดอ การจุ่มสารทำให้ผลลำไยเกิดการเปลี่ยนแปลงสีผิวเปลือกด้านนอกเป็นสีน้ำตาลเข้มเร็วขึ้น คุณภาพการบริโภคลดลงอยู่ในระดับไม่ยอมรับเมื่อเก็บรักษาที่ 10 oซ เป็นเวลา 8 วัน ถึงแม้ว่า มีผลต่อคุณภาพทางเคมีไม่เด่นชัด แต่มีผลในการลดปริมาณเชื้อบริเวณผิวเปลือกด้านนอก และชะลอการเกิดโรคบนผลลำไยทั้งที่ไม่ปลูกเชื้อและปลูกเชื้อ Lasiodiplodia sp. และ Pestalotiopsis sp. ในระยะเวลาสั้น ๆ ได้ และเมื่อเก็บรักษานานขึ้นมีการเจริญของเชื้อราบนผลลำไยมากขึ้น