สมบัติทางความร้อนของกล้วยไข่ (Musa suerier) และกล้วยน้ำว้า (Musa sapientum Linn.)
แสงสวัสดิ์ อุดมเดชวัฒนะ
วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537. 121 หน้า.
2537
บทคัดย่อ
สมบัติทางความร้อนของกล้วยไข่ (Musa suerier) และกล้วยน้ำว้า (Musa sapientum Linn.)
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาค่าสมบัติทางความร้อนของกล้วยไข่และกล้วยน้ำว้าและศึกษาผลของความชื้น (ร้อยละ 50-70 สำหรับกล้วยไข่และร้อยละ 45-65 สำหรับกล้วยน้ำว้า) และอุณหภูมิ (60-101 องศาเซลเซียส และ –30 ถึง –10 องศาเซลเซียส) ที่มีต่อสมบัติทางความร้อนซึ่งได้แก่ ความร้อนจำเพาะ สภาพนำความร้อน และสภาพแพร่ความร้อน และหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าสมบัติทางความร้อนของกล้วยไข่และกล้วยน้ำว้ากับความชื้นและอุณหภูมิ จากการหาค่าความร้อนจำเพาะโดยวิธี Modified method of mixture ค่าสภาพนำความร้อนด้วยวิธี thermal conductivity probe และค่าสภาพแพร่ความร้อนด้วยวิธี thermal diffusivity tube พบว่าในช่วงอุณหภูมิสูง (60-100 องศาเซลเซียส) ค่าความร้อนจำเพาะ ค่าสภาพนำความร้อน และสภาพแพร่ความร้อนของกล้วยไข่มีค่าเท่ากับ 0.6613-0.8382 แคลอรี่/กรัม-องศาเซลเซียส 0.2893-0.9513 วัตต์/เมตร องศาเคลวิน และ 1.7763´10
-7 ถึง 2.2626´10
-7 เมตร
2/วินาทีตามลำดับ และกล้วยน้ำว้ามีค่า 0.5813-0.8154 แคลอรี่/กรัม-องศาเซลเซียส 0.4103-0.9667 วัตต์/เมตร องศาเคลวิน และ 2.3069´10
-7 เมตร
2/วินาที ตามลำดับ ส่วนในช่วงอุณหภูมิต่ำ (-30 ถึง –10 องศาเซลเซียส) ค่าความร้อนจำเพาะ ค่าสภาพนำความร้อน และสภาพแพร่ความร้อนของกล้วยไข่ มีค่าเท่ากับ 0.336-0.5287 แคลอรี่/กรัม-องศาเซลเซียส 0.4837-1.93 วัตต์/เมตร องศาเคลวิน และ 3.5368´10
-7 เมตร
2/วินาที ตามลำดับ และกล้วยน้ำว้ามีค่า 0.3179-0.5152 แคลอรี่/กรัม-องศาเซลเซียส 0.5117-2.2290 วัตต์/เมตร องศาเคลวิน และ3.9272´10
-7 เมตร
2/วินาที ตามลำดับ ซึ่งค่าสมบัติทางความร้อนของกล้วยไข่และกล้วยน้ำว้ามีความสัมพันธ์แบบ Polynomial กับความชื้นและอุณหภูมิ