แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของการทำนายบรรยากาศภายในผลกล้วย
เสาวลักษณ์ รุ่งแจ้ง
วิทยานิพนธ์ (วศ.ม. วิศวกรรมอาหาร) วิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2541. 118 หน้า.
2541
บทคัดย่อ
แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของการทำนายบรรยากาศภายในผลกล้วย
วิทยานิพนธ์นี้ได้เสนอแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของการหายใจของกล้วยหอมทอง โดยใช้สมการเอนไซม์ Michaelis-Menten ชนิดที่มีคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวยับยั้งแบบไม่มีการแข่งขั้น เพื่อใช้ทำนายการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของก๊าซออกซิเจน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในผลกล้วยและบรรจุภัณฑ์ ในการทดลองได้วัดอัตราการหายใจระบบปิดโดยที่การหายใจเป็นฟังก์ชันกับความเข้มข้นของก๊าซออกซิเจน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และอุณหภูมิ และได้ทำการทดลองหาค่าการซึมผ่านผิวกล้วย และค่าพารามิเตอร์ในการหายใจของกล้วย (R
maxO
2, R
maxCO
2, K
mO
2, K
mO
2, K
iCO
2 และ K
iCO
2) ที่อุณหภูมิต่างๆ โดยค่าพารามิเตอร์ได้จากการเปรียบเทียบผลจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของการหายใจกับผลการทดลองเก็บกล้วยในระบบปิด พบว่าความสัมพันธ์ของค่าการซึมผ่านผิวกล้วยและค่าพารามิเตอร์ในการหายใจกับอุณหภูมิเป็นไปตามสมการอาร์รีเนียส นอกจากนี้ในการทดลองได้วัดค่าการซึมผ่านผิวของกล้วยที่เคลือบสารละลาย Semperfresh ที่ความเข้มข้นร้อยละ 2.3 และ 4.5 ที่อุณหภูมิต่างๆ และวัดอัตราการหายใจของกล้วยเคลือบในระบบปิด พบว่า ผลการทำนายที่ได้จากการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์สอดคล้องกับผลที่ได้จากการทดลอง ในการทดลองวัดอัตราการหายใจของกล้วยในการเก็บรักษาในสภาพดัดแปลงบรรยากาศเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 288 องศาเคลวิน พบว่าการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของก๊าซออกซิเจน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในผลกล้วยและบรรจุภัณฑ์สองคล้องกับผลที่ได้จากการคำนวณโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ผลการทดลอง บ่งชี้ว่า แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ได้เสนอในวิทยานิพนธ์นี้สามารถใช้ช่วยในการออกแบบและหาสภาวะที่เหมาะสมในการเก็บรักษาแบบสภาพดัดแปลงบรรยากาศในช่วงอุณหภูมิที่ทำการทดลองได้