การประเมินสมรรถนะและพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของเครื่องอบแห้งกล้วยน้ำว้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
มานพ อัสโย
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. เทคโนโลยีพลังงาน) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2533. 136 หน้า
2533
บทคัดย่อ
การประเมินสมรรถนะและพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของเครื่องอบแห้งกล้วยน้ำว้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
วิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาการอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์โดยเครื่องอบแห้งแบบผสม ซึ่งประกอบด้วยตู้อบแห้งซึ่งมีพื้นทีรับรังสี 12 m
2 และตัวรับรังสีแบบแผ่นเรียบมีกระจกหนึ่งชั้น ซึ่งมีพื้นที่รับรังสี 31.7 m
2 รวมพื้นที่รับรังสี 43.7 m
2 การไหลของอากาศเป็นแบบบังคับ โดยมีโบล์วเออร์ดูดอากาศตรงทางออกของตัวรับรังสีแล้วเป่าผ่านอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนก่อนเข้าตู้อบแห้ง จากการทดลองอบกล้วยน้ำว้าโดยมีปริมาณกล้วยสดสูงสุด 643 kg ภายใต้สภาวะอากาศระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2532 ถึงเดือนมีนาคม 2533 พบว่าประสิทธิภาพกฎข้อที่หนึ่งของเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แปรตามปริมาณความชื้นเฉลี่ยของกล้วย และมวลแห้งของกล้วยต่อหน่วยพื้นที่รับรังสีของเครื่องอบแห้งในลักษณะเชิงเส้น จากการทดสอบประสิทธิภาพของตัวรับรังสี ระหว่างเวลา 9.00 น. ถึง 16.00 น. ที่ความเข้มแสงอาทิตย์รวม 250-990 W/m
2, อัตราการไหลของอากาศ 0.33 kg/s, ความเร็วลมใต้ตัวดูดรังสี 3.2 m/s, อุณหภูมิของอากาศแวดล้อม 26-35 องศาเซลเซียส ผลปรากฏว่าประสิทธิภาพของตัวรับรังสีมีค่าเฉลี่ย 28% ซึ่งต่ำกว่าผลจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สันนิษฐานว่ามีสาเหตุมาจากอัตราการไหลของอากาศที่วัดได้มีค่าต่ำกว่าค่าจริง เนื่องจากมีอากาศรั่วตามทางเข้าตัวรับรังสี