การวิเคราะห์การส่งออกสินค้าเกษตรไม่แปรรูปของไทยภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน : กรณีศึกษาทุเรียน
พิเชษฐ เข็มทอง
วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์เกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 140 หน้า.
2543
บทคัดย่อ
นโยบายการรวมกลุ่มเศรษฐกิจเป็นนโยบายทางการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญ ปัจจุบันมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อสร้างทั้งโอกาสและขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า ตลอดจนสร้างอำนาจในการเจรจาต่อรองกับประเทศมหาอำนาจทางเครษฐกิจในเวทีการค้าโลก วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้คือ เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน บทบาทของนโยบายการเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรไปแปรรูปตามข้อตกลงดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการส่งออกทุเรียนของไทยไปยังประเทศในเขตการค้าเสรีอาเซียน ผลจากการศึกษานโยบายการเปิดเสรีสินค้าเกษตรภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน พบว่า สินค้าเกษตรเป็นสินค้าที่ประเทศสมาชิกอาเซียนให้ความคุ้มครองมากที่สุด การเปิดเสรีสินค้าเกษตรของไทยส่วนใหญ่จะนำไปสู่การเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างกันและผลจากการวิเคราะห์เชิงปริมาณของปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออกทุเรียนของไทยในช่วงปี พ.ศ. 2523-2540 ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (OLS) พบว่าค่าความยืดหยุ่นต่อราคาของมาเลเซีย สิงคโปร์ และอาเซียน ก่อนการใช้นโยบายลดภาษีมีค่าเท่ากับ 1.25900.5545และ1.5002และหลังใช้นโยบายมีค่าเท่ากับ 1.52620.6284และ1.5438 ค่าความยืดหยุ่นต่อรายได้ก่อนใช้นโยบายลดภาษีมีค่าเท่ากับ 5.17932.5153และ0.7979 และหลังใช้นโยบายมีค่าเท่ากับ 3.57545.4550และ 0.9396 ตามลำดับ อาจกล่าวได้ว่านโยบายการเปิดเสรีทางการค้ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการส่งออกทุเรียนของไทยอยู่บ้าง เมื่อเปรียบเทียบจากค่าความยืดหยุ่นต่อราคาและค่าความยืดหยุ่นต่อรายได้ ซึ่งค่าความยืดหยุ่นดังกล่าวมีค่าเพิ่มขึ้นหลังจากใช้นโยบายเปิดเสรีการค้า ในมาเลเซียและอาเซียนนั้นค่าความยืดหยุ่นต่อราคามีค่ามากกว่าหนึ่ง ราคาส่งออกที่เปลี่ยนแปลงจะมีผลต่อปริมาณการส่งออก ในกรณีสิงคโปร์นั้นค่าความยืดหยุ่นต่อราคามีค่าน้อย นโยบายด้านราคาอาจจะไม่ทำให้รายได้เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นควรใช้นโยบายไม่ใช่ราคา เช่น ปรับปรุงคุณภาพของทุเรียนส่งออก ส่วนความยืดหยุ่นต่อรายได้มีค่ามากกว่าหนึ่งในตลาดมาเลเซีย และสิงคโปร์ ควรใช้การส่งเสริมการขาย เช่น การจัดแสดงสินค้าในต่างประเทศ การปรับปรุงคุณภาพ สี กลิ่น ให้สอดคล้องกับรสนิยม