การใช้ความร้อนหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเกิดโรคบนผลส้ม
ขัตติยา สะละหมัด
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพฯ. 2541. 75 หน้า.
2541
บทคัดย่อ
การใช้ความร้อนหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อลดการเกิดโรคบนผลส้ม
ผลส้มเขียวหวานพันธุ์สายน้ำผึ้งซึ่งเก็บมาจากสวนส้มธนาธร จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อนำมาเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 21 วัน พบว่าผลส้มเกิดการเน่าเสียจากเชื้อรา 4 ชนิดคือ
Penicillium digitatumAlternaria sp.
Fusarium sp. และ
Colletotrichum gloeosporioides โดยเชื้อรา
Penicillium digitatum เป็นเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคและมีความรุนแรงของโรงสูงสุด การทดสอบการงอกของสปอร์เชื้อรา
Penicillium digitatum หลังจากให้สปอร์ผ่านน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 40 44 48 และ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที พบว่าที่อุณหภูมิ 52 องศาเซลเซียสเป็นอุณหภูมิที่ทำให้สปอร์มีอัตราการงอกต่ำที่สุด เมื่อทดสอบการควบคุมโรคบนผลส้มที่เกิดจากเชื้อราดังกล่าวโดยใช้น้ำร้อนที่อุณหภูมิ 404448 และ 52 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที และที่อุณหภูมิ 525456 และ 58 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 246 และ 8 นาที พบว่าที่อุณหภูมิ 48 องศาเซลเซียส เวลา 10 นาที ให้ผลในการควบคุมโรคได้ดีที่สุด นอกจากนี้การจุ่มผลส้มในน้ำร้อนที่อุณหภูมิดังกล่าวไม่พบการสร้างสารที่ต่อต้านเชื้อราในผิวเปลือกของส้ม เมื่อตรวจสอบโดยใช้ thin layer chromatography การยืดอายุการเก็บรักษาโดยการจุ่มผลในน้ำร้อนร่วมกับการห่อด้วยฟิล์มพลาสติกช่วยทำให้ผลส้มสามารถเก็บรักษาได้ถึง 8 สัปดาห์ โดยมีการเกิดโรคต่ำกว่าผลส้มที่ผ่านการห่อฟิล์มพลาสติกแล้วจุ่มน้ำร้อน การจุ่มน้ำร้อนอย่างเดียวและผลส้มที่ไม่ผ่านวิธีการใด แต่วิธีการเหล่านี้ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ หลังจากเก็บรักษาไว้เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์