การออปติไมซ์การใช้พลังงานในการอบแห้งลำไยแบบเบดอยู่กับที่
วีรศักดิ์ วงศาสุราฤทธิ์
วิทยานิพนธ์ (วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน)) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546. 128 หน้า.
2546
บทคัดย่อ
จากการจำลองสภาวะเพื่อวิเคราะห์ความไวของสภาวะอากาศแวดล้อมของกรณีที่เป็นเครื่องอบแห้งแบบไต้หวันพบว่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์อากาศแวดล้อมมีผลต่ออัตราการไหลจำเพาะของอากาศที่จุดที่เหมาะสมที่สุด แต่ไม่มีผลต่ออุณหภูมิอบแห้งที่จุดที่เหมาะสมที่สุด ส่วนกรณีที่เป็นเครื่องอบแห้งแบบที่มีการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่พบว่า อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์อากาศแวดล้อมมีผลต่ออัตราการไฟลจำเพาะของอากาศที่จุดที่เหมาะสมที่สุด แต่ไม่มีผลต่ออุณหภูมิอบแห้ง และอัตราส่วนการนำอากาศกลับมาใช้ใหม่ที่จุดที่เหมาะสมที่สุด โดยเงื่อนไขที่ทำให้ราคาของพลังงานที่ใช้ในการอบแห้งมีค่าต่ำที่สุดของกรณีที่เป็นเครื่องอบแบบไต้หวัน คือ ใช้อัตราการไหลจำเพาะของอากาศ 31 kg dry air / h – kg dry longan, อุณหภูมิอบแห้ง 60 ° C เมื่อมีอุณหภูมิอากาศแวดล้อม 30 ° C และความชื้นสัมพัทธ์อากาศแวดล้อม 75 % ส่วนเงื่อนไขที่ทำให้ราคาของพลังงานที่ใช้ในการอบแห้งมีค่าน้อยที่สุดของกรณีที่เป็นเครื่องอบแห้งแบบที่มีการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ คือ ใช้อัตราการไหลจำเพาะของอากาศ 67 kg dry air / h – kg dry longan, อุณหภูมิอบแห้ง 80 ° C , อัตราส่วนการนำอากาศกลับมาใช้ใหม่ 97 % เมื่อมีอุณหภูมิอากาศแวดล้อม 30 ° C และความชื้นสัมพัทธ์อากาศแวดล้อม 75%