เชื้อราที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์ข้าวและคุณภาพบางประการของเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรจังหวัดเชียงรายให้ทำพันธุ์
นฤนาท จันทรมงคล และ ชาติชาย ชุมสาย ณ อยุธยา
รายงานผลการวิจัย สำนักงานส่งเสริมการเกษตรภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ กรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
2539
บทคัดย่อ
และของตำบลศรีดอนไชย, ตำบลงิ้ว (อำเภอเทิง) และของสถานีทดลองข้าวสันป่าตองได้ค่า 0, 0.4, 1.5, 0.1 และ 0 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งนับว่าเปอร์เซ็นต์ของวัชพืชมีน้อย เปอร์เซ็นต์เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ใช้ทดสอบมีแมลงทำลายค่าเฉลี่ยของตำบลเวียง, ตำบลแม่เจดีย์ (อำเภอเวียงป่าเป้า) ตำบลศรีดอนไชย, ตำบลงิ้ว (อำเภอเทิง) และของสถานีทดลองข้าวสันป่าตอง เป็น 1.5 ± 2.01 , 1.3 ± 2.1, 4.9 ± 6.1, 2.9 ± 3.14 และ 1.67 ± 1.25 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับคิดค่าเฉลี่ยของทั้งจังหวัดจะได้ 2.65 ± 1.44 เปอร์เซ็นต์ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่อนข้าวสูง เป็นเพราะบางตัวอบ่างไม่มีแมลงลงทำลายในขณะที่บางตัวอย่างมีแมลงทำลายค่อนข้างมาก ชนิดแมลงที่พบส่วนใหญ่จะได้แก่ ผีเสื้อข้าวเปลือก, มอดสยามและมอดหัวบ้อม
สำหรับเปอร์เซ็นต์เมล็ดพันธุ์ข้าวที่พบเชื้อราเจริญที่เมล็ดทำสองกรรมวิธี คือ เพาะเมล็ดพันธุ์ข้าวบนกระดาษกรองชื้น (I) และเพาะบนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA (II) : กรรมวิธี I พบว่าเปอร์เซ็นต์เฉลี่ยเชื้อราที่เข้าเจริญที่เมล็ดพันธุ์ข้าวของตำบลเวียง, ตำบลแม่เจดีย์, ตำบลศรีดอนไชย , ตำบลงิ้ว และสถานีทดลองข้าวสันป่าตองมีค่า 21.33 ± 9.15, 24.33 ± 10.96, 19.1 ± 6.22, 15.83 ±11.15 และ 6.67 ± 0 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับซึ่งเมื่อวิเคราะห์ ANOVA แต่ละแห่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทมางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เฉลี่ยทั้งจังหวัดได้ 20.16 ± 3.1 เปอร์เซ็นต์ กรรมวิธีที่ II เปอร์เซ็นต์เฉลี่ยเชื้อราที่ทำลายเมล็ด เรียงสถานที่ที่นำเมล็ดพันธุ์มาเพาะเช่นเดียวกับกรรมวิธีที่ I จะได้ค่า12.5 ± 9.3 , 16.5 ± 10.46, 20 ± 11.25, 14.83 ± 9.9 และ 13.33 ±0 ตามลำดับ วิเคราะห์ ANOVA แต่ละแห่งไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เฉลี่ยทั้งจังหวัดได้ 15.962.73 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบ 2 กรรมวิธี คือ เพาะเมล็ดพันธุ์บนกระดาษกรองและเพาะบน PDA ก็ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เชื้อราที่พบก็คือ Helminthosporium oryzae, Fusarium spp., Curvularia spp., Sarocladium oryzae., Cercospora sp.,Alternaria padwickii. Pyriculariaoryzae.,Aspergillus spp.,Penicillium spp. และ Rhizoctonia solani
ส่วนเชื้อแบคทีเรียที่เข้าเจริญที่เมล็ดบน PDA เปอร์เซ็นต์เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ถูกเชื้อแบคทีเรียเข้าขึ้นเจริญ (Solonization) ของสถานที่ที่เรียงลำดับเช่นเดียวกับของเชื้อราจะได้ค่า 14.33 ± 12.99, 21.93 ± 11.08, 27.5±16.12, 24.33 ± 12.57 และ 3.33 ± 0 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ ANOVA พบว่า เปอร์เซ็นต์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เฉลี่ยทั้งจังหวัดเชื้อแบคทีเรียเข้าเจริญที่เมล็ดพันธุ์จะเป็น 22 ± 4.86 เปอร์เซ็นต์ การวิจัยครั้งนี้ไม่ได้จำแนก ชนิดของเชื้อแบคทีเรียแต่ที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพวกโคโลนีสีเหลืองเข้มน่าจะเป็นแบคทีเรียพวก Xathomonas spp.
ผลการศึกษาเปรียบเทียบการเจริญของกล้าข้าวพันธุ์ กข.6 เมื่อเริ่มปลูกจนอายุ 10 วันและมีเชื้อราเข้าทำอันตราย (Infected Seedlings) เปรียบเทียบกับเมล็ดข้าวพันธุ์ กข.6 ที่สมบูรณ์ (healthy Seedlings) และทำการวางแผนการทดลองแบบ ORD เมื่อก่อนย้ายไปปลูกในกะบะเพาะซึ่งมีดินปลูกไม้กระถางที่ผ่านการอบฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในดินแล้ว ได้ทำการวัดความยาวของกล้าข้าวและหลังปลูกจนอายุรวม 20 วัน และ 30 วันก็วัดความสูงและจำนวนใบ ทำ 3 ซ้ำๆ ละ 20 ต้น กลุ่มกล้าที่ถูกเชื้อราเข้าทำอันตรายเมื่อกล้าอายุ 20 วัน มีกล้าตาย 17 ต้นคิดเป็น 28.33 เปอร์เซ็นต์ เมื่ออายุ 30 วัน มีกล้าตายรวม 25 ต้น คิดเป็น 41.61 เปอร์เซ็นต์ ความยาวเฉลี่ยของกล้าเมื่อก่อนย้ายปลูกอายุ 10 วัน กล้าที่สมบูรณ์จะยาวกว่ากล้าที่ถูกเชื้อราทำอันตรายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เช่นเดียวกัน ความสูงและจำนวนใบของกล้าสมบูรณ์ก็จะสูงกว่าและมากกว่า กลุ่มกล้าข้าวที่ถูกเชื้อราเข้าทำอันตราย เมื่ออายุกล้าข้าวได้ 20 และ 30 วัน