บทคัดย่องานวิจัย

ลักษณะทางกายภาพของเมล็ดและเยื่อหุ้มเมล็ดที่สัมพันธ์กับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง

เชิดชาย วังคำ

วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) พืชไร่นา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 118 หน้า.

2542

บทคัดย่อ

ลักษณะทางกายภาพของเมล็ดและเยื่อหุ้มเมล็ดที่สัมพันธ์กับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง   การศึกษาลักษณะทางกายภาพของเมล็ดและเยื่อหุ้มเมล็ดที่สัมพันธ์กับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง 40 สายพันธุ์/พันธุ์ โดยปลูกถั่วเหลือง 2 ฤดู คือฤดูแล้งปี 2538 และฤดูฝนปี 2539 ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จากการศึกษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์โดยการตรวจสอบความงอกมาตรฐาน ความแข็งแรงโดยวิธีการเร่งอายุความงอกในไร่ ค่าการนำไฟฟ้าและปริมาณเมล็ดแข็ง ผลการทดลองพบว่า ทั้ง 2 ฤดูปลูกเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองมีคุณภาพแตกต่างกันไปตามพันธุ์ถั่วเหลือง ในฤดูแล้งมีการเกิดเมล็ดแข็งมากกว่าถั่วเหลืองที่ปลูกต้นฤดูฝน เมื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพกับลักษณะทางคุณภาพพบว่ามีลักษณะทางกายภาพหลายลักษณะที่มีความสัมพันธ์ได้แก่น้ำหนักเมล็ด ปริมาตร เมล็ด พื้นที่ผิวเมล็ด รูปร่างเมล็ด (eccentricity) สีเมล็ด เปอร์เซ็นต์เยื่อหุ้มเมล็ด ความหนาเยื่อหุ้มเมล็ดและน้ำหนักจำเพาะเยื่อหุ้มเมล็ด โดยพบว่าถั่วเหลืองที่มีขนาดเมล็ดเล็ก เยื่อหุ้มเมล็ดหนา รูปร่างเมล็ดกลมและเยื่อหุ้มเมล็ดสีเหลือง เมื่อแยกนำความงอกมาตรฐาน และความงอกในไร่ วิเคราะห์ Path-coefficient ของถั่วเหลืองที่ปลูกฤดูฝนปี 2539 ลักษณะทางกายภาพที่มีผลต่อความงอกมาตรฐานและความงอกในไร่มีหลายลักษณะที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมสูงคือ น้ำหนักเมล็ด ปริมาตรเมล็ด พื้นที่ผิวเมล็ด ความถ่วงจำเพาะเมล็ด eccentricity เปอร์เซ็นต์เยื่อหุ้มเมล็ด และน้ำหนักจำเพาะเยื่อหุ้มเมล็ด นอกจากนี้ ลักษณะทางกายภาพที่มีอิทธิพลทางอ้อมของลักษณะอื่นๆ ผ่านสูงได้แก่ ลักษณะน้ำหนักและขนาด เมล็ดรวมทั้งค่า eccentricity และจากการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนของถั่วเหลือง 6 พันธุ์ คือ เชียงใหม่ 60 Williams สจ.4 อุตสาหะเอ สุโขทัย 1 (SSR DMR 34) และ SSR 8502-2-2 พบว่าถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60 Williams สุโขทัย 1 (SSR DMR 34) เป็นพันธุ์ที่มีรูเยื่อหุ้มเมล็ดขนาดใหญ่และลักษณะลึกรวมถึงมีจำนวนรูปต่อพื้นที่มาก สำหรับถั่วเหลืองพันธุ์ สจ.4 อุตสาหะเอ SSR 8502-2-2 เป็นพันธุ์ที่มีรูเยื่อหุ้มเมล็ดขนาดเล็ก จากการศึกษาสามารถแนะนำให้นักปรับปรุงพันธุ์ควรคัดเลือกสายพันธุ์เพื่อให้ได้คุณภาพเมล็ดสูง โดยใช้ลักษณะทางกายภาพดังนี้คือ ขนาดเมล็ด เยื่อหุ้ม เมล็ด รูปร่างเมล็ด (ค่า eccentricity) และสีเยื่อหุ้มเมล็ด