การศึกษาหาแนวทางการอบแห้งเมล็ดถั่วเหลืองแบบเป็นงวดที่เหมาะสม : การทดลองและจำลองแบบปัญหาทางคณิตศาสตร์
สุภวรรณ วชิรมน
วิทยานิพนธ์ (วศ.ม. วิศวกรรมเคมี) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2533. 126 หน้า.
2533
บทคัดย่อ
การอบแห้งทุกกรณี เมื่อเปรียบเทียบเกรเดียนท์ความชื้นและอุณหภูมิของเมล็ดถั่วเหลืองในระหว่างการอบแห้ง พบว่าเมื่ออัตราการไหลของอากาศอบแห้งลดลงหรืออุณหภูมิอบแห้งสูงขึ้น และความหนาของชั้นอบแห้งเพิ่มขึ้นเกรเดียนท์ความชื้นและอุณหภูมิของชั้นเมล็ดถั่วเหลืองจะเพิ่มขึ้น สำหรับเวลาที่ใช้ในการอบแห้งพบว่า การอบแห้งแบบ LFLT (เวลา 34 - 56 ชม.) จะใช้เวลาในการอบแห้งนานกว่าแบบ LFHT (เวลา 23 - 60 ชม.) และแบบ HFLT (เวลา 11 - 32 ชม.) เมื่อพิจารณาความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะในการอบแห้ง พบว่า การอบแห้งแบบ HFLT ของชั้นเมล็ดถั่วเหลืองหนา 0.60 เมตร จะสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะในการอบแห้งมากที่สุด และการอบแห้ง แบบ LFHT จะสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะที่ใช้ในการอบแห้งใกล้เคียงกับการอบแห้งแบบ LFLT และการอบแห้งแบบ LFLT, LFHT ของชั้นเมล็ดถั่วเหลืองหนา 0.60 เมตร สิ้นเปลืองพลังงานในการอบแห้งใกล้เคียงกับการอบแห้งแบบ HFHT และ HFLT ของชั้นความหนา 0.40 เมตร โดยเฉพาะในส่วนของพลังงานความร้อน นอกจากนี้ยังพบว่าความสิ้นเปลืองพลังงานในการอบแห้งจะเพิ่มขึ้น เมื่ออัตราการไหลของอากาศและความหนาของชั้นเมล็ดถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น แต่อุณหภูมิของอากาศที่ใช้อบแห้งในช่วง 45-75 องศาเซลเซียส ไม่มีอิทธิพลอย่างชัดเจนต่อความสิ้นเปลืองพลังงานในการอบแห้งเมื่ออัตราการไหลของอากาศมีค่าคงที่ จากการเปรียบเทียบผลจากการทดลองกับผลจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์แบบใกล้สมดุลของ Soponronnarit [1] พบว่า ผลจากแบบจำลองใกล้เคียงกับผลจากการทดลองโดยเฉพาะที่ชั้นความหนา 0.40 เมตร แบบจำลองสามารถทำนายได้ดี และจากการจำลองแบบปัญหาทางคณิตศาสตร์พบว่า ความสิ้นเปลืองพลังงานจำเพาะในการอบแห้งมีแนวโน้มใกล้เคียงกับผลจากการทดลอง