การอบแห้งข้าวโพดโดยเทคนิคสเปาเต็ดเบดสองมิติ
กษมา เจนวิจิตรสกุล
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. วิศวกรรมศาสตร์ (เทคโนโลยีพลังงาน) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. 92 หน้า.
2543
บทคัดย่อ
การอบแห้งข้าวโพดโดยเทคนิคสเปาเต็ดเบดสองมิติ
จุดประสงค์ในงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสมในการอบแห้งข้าวโพดโดย เทคนิคสเปาเต็ดเบดสองมิติ พิจารณาตัวแปรที่ส่งผลต่อคุณภาพของเมล็ดข้าวโพดหลังการอบแห้ง พัฒนาสมการทางคณิตศาสตร์สำหรับทำนายการอบแห้งข้าวโพด และหาค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนระหว่างอากาศร้อนกับเมล็ดข้าวโพด โดยการทดลองอบแห้งเมล็ดข้าวโพดที่ความชื้นเริ่มต้นประมาณ 38% d.b. อุณหภูมิอากาศที่ทางเข้าห้องอบแห้ง 130, 140 และ 150 °C ปริมาณข้าวโพด (hold-up) 20, 25 และ 30 kg พบว่า ตัวแปรหลักที่มีอิทธิพลต่ออัตราส่วนความชื้นคือ อุณหภูมิอากาศอบแห้งและปริมาณข้าวโพดในห้องอบแห้ง (hold-up) สมการของ Lewis มีความเหมาะสมและสะดวกในการทำนายการอบแห้ง ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพเมล็ดข้าวโพดหลังการอบแห้ง ในด้านการร้าว การแตก และสีของเมล็ด คือ ความชื้นสุดท้ายของเมล็ดข้าวโพด ซึ่งไม่ควรมีค่าต่ำกว่า 22% d.b. เพราะจะทำให้เกิดการร้าวและ แตกเพิ่มขึ้นมาก จากผลการพัฒนาสมการทำนายสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนระหว่างอากาศร้อนกับเมล็ดข้าวโพดในช่องสเปาด์ (h
s) และประสิทธิผลรวมทั้งห้องอบแห้ง (h
eff) พบว่า เป็นฟังก์ชันกับความสูงเบด Reynolds number และ Prandtl number โดย h
s และ h
eff มีค่าอยู่ระหว่าง 83 - 137 W/m
2°C และ 12 - 33 W/m
2°C ตามลำดับ