การสำรวจจุลินทรีย์ในสลัดผักพร้อมบริโภค
นิ่มนวล แก้วชะเนตร
วิทยานิพนธ์ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาโภชนศาสตร์ศึกษา)) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545. 82 หน้า.
2545
บทคัดย่อ
การสำรวจจุลินทรีย์ในสลัดผักพร้อมบริโภค
การศึกษานี้ได้ศึกษาถึงปริมาณจุลินทรีย์ในสลัดผักพร้อมบริโภค เพื่อสำรวจสุขลักษณะของอาหารประเภทนี้ ซึ่งจำหน่ายในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ถึง วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2545 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา มีจำนวน 2 ชนิด คือ สลัดผักชนิดบรรจุถาดโฟมใช้พลาสติกห่อหุ้มมิดชิดและสลัดผักชนิดที่ผู้ขายตักให้ โดยได้ตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ จุลินทรีย์รวม (Total Plate Count) ยีสต์และราสแตปฟีโลค็อกคัส ออเรียส
(Staphylococcus aureus) ซาลโมเนลลา (
Salmonella) และ อี.โคไล (
E. coli) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน ICMSF มาตรฐาน PHLS มาตรฐานของสหภาพยุโรปและมาตรฐานอาหารไทย ผลการศึกษาพบว่า น้ำสลัดมายองเนสของสลัดผักพร้อมบริโภคชนิดบรรจุถาดโฟมใช้พลาสติกใส่ห่อหุ้มมิชิดไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานเพราะตรวจพบเชื้อซาลโมเนลลา (
Salmonella) และพบว่าในสลัดผัก มีปริมาณเชื้อยีสต์และเชื้อ อี.โคไล (
E. coli) เกินเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับน้ำสลัดมายองเนสของสลัดผักพร้อมบริโภคชนิดที่ผู้ขายตักให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานทัง้ชองประเทศไทยและต่างประเทศ ส่วนผักสลัดไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน เนื่องจากตรวจพบเชื้อยีสต์และเชื้อ อี.โคไล (
E. coli) เกินกว่าระดับมาตรฐาน