บทคัดย่องานวิจัย

ผลของสารประกอบเกลือร่วมกับสารเคลือบผิวในการควบคุมการเน่าเสียของผลลำไยหลังการเก็บเกี่ยว

กรรณพต แก้วสอน

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2545. 93 หน้า.

2545

บทคัดย่อ

ผลของสารประกอบเกลือร่วมกับสารเคลือบผิวในการควบคุมการเน่าเสียของผลลำไยหลังการเก็บเกี่ยว

การศึกษาผลของสารละลาย(W/V)โซเดียมไบคาร์บอเนต 0.5% และ1.25%โซเดียมคาร์บอเนต 3% โซเดียมคลอไรด์ 4% โซเดียมไฮโปคลอไรด์0.02%โปแตสเซียมไบคาร์บอเนต0.5%และโปรแตสเซียมซอร์เบท0.3%และต่อเชื้อจุลินทรีย์บนผลลำใย โดยผสมกับอาหารเลี้ยงเชื้อ และเติมน้ำที่มีการปะปนของเชื้อจากเปลือกผลลำใย นำไปบ่มไว้ที่อุณหภูมิห้อง(25 ± 2 o C ) เป็นเวลา 1 วันและ3วัน พบว่า สารละลายโซเดียมคาร์บอเนต ความเข้มข้น 3%สามารถควบคุมการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ได้ดีที่สุด

การศึกษาผลของความเข้มข้นและอุณหภูมิของสารละลายโซเดียมคาร์บอร์เนตเพื่อควบคุมการเน่าเสียหลังการเก็บเกี่ยวผลลำใยพันธุ์ดอ โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ส่วนคือส่วนแรก นำผลลำใยมาแช่ในสารละลายโซเดียมคาร์บอเนต ความเข้มข้น 0,1,3 และ 5% ที่อุณหภูมิห้อง นาน 10 นาที แล้วนำไปเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 10 oC พบว่า ผลลำใยที่ผ่านการแช่สารละลายโซเดียมคาร์บอเนตทุกความเข้มข้นสามารถชะลอการเน่าเสียและเก็บรักษาผลได้นาน 6 วัน ส่วนชุดควบคุมเก็บรักษาได้นาน 4 วัน โดยผลลำไยที่ผ่านการแช่ในสารละลายโซเดียมคาร์บอเนตความเข้มข้น3% มีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคต่ำที่สุด เมื่อตรวจผลในวันที่ 8 ผลลำไยในทุกกรรมวิธีมีการสูญเสียน้ำหนักและปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (TSS) ไม่แตกต่างกัน การจุ่มผลลำไยในสารละลายโซเดียมคาร์บอเนตทุกความเข้มข้นทำให้ผลลำไยเกิดการเปลี่ยนแปลงสีเปลือกด้านนอกเป็นสีน้ำตาลเข้มเร็วขึ้น การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสสีเปลือกด้านนอกไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค คือ ผมสีน้ำตาลทั้งผล ในขณะที่สีเปลือกด้านในและรสชาติอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ไม่มีกลิ่นแปลกปลอม ส่วนที่สอง นำสารละลายโซเดียมคาร์บอเนตความเข้มข้นที่ให้ผลดีที่สุดจากส่วนแรกมาทดสอบหาอุณหภูมิและเวลา โดยนำผลลำไยผ่านการแช่ในสารละลายโซเดียมคาร์บอเนต ความเข้มข้น 3% ที่อุณหภูมิห้อง 49, 52 และ 55 oC นาน 5 นาทีและ 10 นาที แล้วนำไปเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 10 oC พบว่า การแช่ในสารละลายโซเดียมคาร์บอเนต ความเข้มข้น 3% ที่อุณหภูมิห้องนาน 5 นาที สามารถชะลอการเน่าเสียได้นาน 6 วัน และเมื่อตรวจดูผลในวันที่ 8 มีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคต่ำสุด โดยผลลำไยในทุกกรรมวิธีมีการสูญเสียน้ำหนักและปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (TSS) ไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ผลลำไยที่ผ่านการแช่ในสารละลายโซเดียมคาร์บอเนต ความเข้มข้น 3% ที่อุณหภูมิ 55°C นาน 10 นาที มีการเปลี่ยนแปลงสีเปลือกด้านนอกเป็นสีน้ำตาลเข้ม สีเปลือกด้านในเกิดอาการผิดปกติเป็นวงสีน้ำตาล มีกลิ่นและรสชาติผิดปกติ ไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค

การศึกษาผลของสารละลายโซเดียมคมาร์บอนเนตร่วมกับสารเคลือบผลของผลลำไย โดยนำผลลำไยที่ผ่านการแช่ในสารละลายโซเดียมคาร์บอนเตความเข้มข้น 3% ที่อุณหภูมิห้อง นาน 5 นาที ผลลำไยที่เคลือบผิวด้วยสาร Stafresh 310 ความเข้มข้น 50, 60 และ 70% Carnauba ความเข้มข้น 10 และ 15% และผลลำไยที่ผ่านการแช่ในสารละลายโซเดียมคาร์บอนเตแล้งเคลือบผิวด้วย Stafresh 310 และ Carnauba ทุกความเข้มข้น แล้วนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10° C พบว่า ผลลำไยที่ผ่านการในสารละลายโซเดียมคาร์บอเนตความเข้มข้น 3 % ที่อุณหภูมิห้องนาน 5 นาที โดยไม่เคลือบผิว ผลลำไยที่เคลือบด้วยสาร Carnauba เพียงอย่างเดียวที่ความเข้มข้น 10% และผลลำไยที่ผ่านการแช่ในสารละลายโซเดียมคาร์บอเนต ความเข้มข้น 3% ที่อุณหภูมิห้องนาน 5 นาที แล้วเคลือบผิวด้วย Carnauba ความเข้มข้น 10% มีอายุการเก็บรักษานาน 10 วัน เท่าๆ กัน ส่วนผลลำไยที่เคลือบด้วยสารStafresh 310 เพียงอย่างเดียว ที่ความเข้มข้น 50% มีอายุการเก็บรักษานาน 12 วัน แต่ผลลำไยที่ผ่านการในน้ำกลั่น (ชุดควบคุม) มีอายุการเก็บรักษาได้สั้นที่สุด (8 วัน) โดยที่การประเมินคุณภาพด้านประสาทสัมผัสยังเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค