บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาสารให้กลิ่นของลำไยสดและลำไยกระป๋องพันธุ์อีแดง

จริยา ปิติพรณรงค์

การค้นคว้าแบบอิสระ (วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการสอนเคมี)) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 77 หน้า.

2531

บทคัดย่อ

การศึกษาสารให้กลิ่นของลำไยสดและลำไยกระป๋องพันธุ์อีแดง ได้ศึกษาสารที่ให้กลิ่นในลำไย โดยในการทดลองนี้ใช้ลำไยสดและลำไยกระป๋องพันธุ์อีแดงเป็นวัตถุดิบ สารระเหยให้กลิ่นจากลำไยได้ถูกสกัดออกมาโดยใช้วิธีการกลั่น 2 วิธีคือ วิธีแรกเป็นการกลั่นและสกัดพร้อมกันโดยใช้เครื่องกลั่นแบบ simultaneous steam distillation and extraction ซึ่งเป็นวิธีการสกัดอย่างต่อเนื่อง ออกแบบโดย Nicherson and Likens และอีกวิธีหนึ่งคือ การกลั่นโดยใช้ความดันต่ำและสกัดด้วย diethyl ether หลังจากทำการระเหยเอา diethyl ether ออกโดยการกลั่นแบบธรรมชาติ และเป่าด้วยก๊าซไนโตรเจน จะได้สารให้กลิ่นเข้มข้น (aroma concentrate) ที่มีลักษณะเป็นของเหลวใสไม่มีสีและมีกลิ่นรุนแรง เพื่อเป็นแนวทางในการบ่งบอกชนิดของสารระเหยให้กลิ่น ได้นำ aroma concentrate มาศึกษาโดยวิธีแก๊สโครมาโตกราฟีและใช้เวลารีเทนชันของสารระเหยอ้างอิงเป็นตัวเปรียบเทียบและได้ทดสอบกลิ่นโดยวิธี sensory evaluation จากการศึกษาพบว่าสารที่ให้กลิ่นในลำไยแบ่งออกเป็น 2 พวกคือ พวกแรกให้กลิ่นที่ไม่ดี ได้แก่สารที่พบในลำไยกระป๋องคือ i-butanol, prepanol, 2-methyl butanol และ 3-methyl butanol อีกพวกหนึ่งเป็นสารที่ให้กลิ่นที่ดีหรือกลิ่นหอมในลำไยสด เชื่อว่าคือ ehtyl acetate และ ethyl hexa