คุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองหลังเร่งอายุการเก็บเกี่ยวด้วยสารเคมีชนิดต่างๆ ในช่วงฤดูฝน
ระวิ พงศตานิ
วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2544. 70 หน้า
2544
บทคัดย่อ
คุณภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองหลังเร่งอายุการเก็บเกี่ยวด้วยสารเคมีชนิดต่าง ๆ ในช่วงฤดูฝน
การวิเคราะห์คุณภาพของเมล็ดถั่วเหลืองพันธุ์ เชียงใหม่ 60 หลังเร่งอายุการเก็บเกี่ยวด้วยสารเคมีชนิดต่าง ๆ ช่วงฤดูฝนในปีการเพาะปลูก 2542 ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงตุลาคม ณ สถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมเกษตรแม่เหียะ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวางแผนการทดลองแบบ RCBD (randomized complete block design) มีจำนวน 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธีได้แก่ กรรมวิธีการปล่อยให้ถั่วเหลืองแห้งในแปลงจนถึงระยะสุกแก่ทาง การเก็บเกี่ยว ผลการศึกษาพบว่าอัตราการลดลงของความชื้นเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองจากระยะสุกแก่ทางสรีร วิทยา จนกระทั่งเมล็ดมีความชื้นประมาณ 14 เปอร์เซ็นต์ กรรมวิธีการใช้สาร dimethipin ฉีดพ่นเมื่อถั่วเหลืองเจริญถึงระยะสุกแก่ทางสรีระวิทยา แล้วปล่อยให้ แห้งในแปลงนั้นจะใช้ระยะเวลาในการลดความชื้น 10 วัน รองลงมาได้แก่กรรมวิธีการใช้สาร dimenthipin ฉีดพ่นเมื่อถั่วเหลืองเจริญถึงระยะสุกแก่ทางสรีรวิทยา แล้วปล่อยให้แห้งในแปลงนั้นจะใช้ระยะเวลาในการลดความชื้น 10 วัน รองลงมาได้แก่กรรมวิธีการใช้สาร paraquat โดยใช้เวลาในการลดความชื้น 11.8 วัน ส่วนกรรมวิธีการปล่อยให้ถั่วเหลืองแห้ง ในแปลงนั้นใช้ระยะเวลาในการลดความชื้นนานที่สุด 20.3 วัน นอกจากนั้นการใช้สาร dimethipin และ paraquat ฉีดพ่นแล้วปล่อยให้แห้งในแปลงจนถึงระยะสุกแก่ทางการเก็บเกี่ยว เมล็ดพันธุ์มีคุณภาพดีที่สุดทั้งด้านเปอร์เซ็นต์ความงอก และความแข็งแรงของเมล็ดที่สูงกว่ากรรมวิธีอื่น ๆ โดยกรรมวิธีการใช้สาร dimethipin มีความงอก 42 เปอร์เซ็นต์เมล็ดดี 60.1 และ 60 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่กรรมวิธีการปล่อยให้ถั่วเหลืองแห้งในแปลงนั้นมีเมล็ดดีเพียง 52.1 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งแต่ละกรรมวิธีนั้นมีคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ต่ำและเปอร์เซนต์เมล็ดเสียรวมสูงเกิดขึ้นเนื่องจากการปล่อยให้ถั่วเหลืองอยู่ในแปลงนานเกินไป เป็นเหตุให้เมล็ดหรือฝักที่เริ่มจะแห้งนั้นได้รับความชื้นเพิ่มขึ้นจากปริมาณที่ฝนตกลงมาสลับกับการได้รับแสงแดด ทำให้คุณภาพของเมล็ดต่ำกว่ามาตรฐาน