การเก็บรวบรวมพันธุ์และการศึกษาลักษณะทางพืชไร่ของถั่วลิสงพันธุ์พื้นเมืองของพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยที่ปลูกเพื่อทำถั่วลิสงฝักต้ม
ทรงเชาว์ อินสมพันธ์
รายงานการวิจัย ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541, 12 หน้า.
2541
บทคัดย่อ
การเก็บรวบรวมพันธุ์และการศึกษาลักษณะทางพืชไร่ของถั่วลิสงพันธุ์พื้นเมืองของพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยที่ปลูกเพื่อทำถั่วลิสงฝักต้ม
ได้ออกไปทำการเก็บตัวตัวอย่างพันธุ์ถั่วลิสงที่ปลูกเพื่อทำถั่วลิสงฝักต้มในพืนที่เกษตรกร 5 จังหวัด ของทางภาคเหนือตอนบน คือเชียงใหม่ ลำปาง น่าน พะเยา และเชียงราย ในช่วงเดือนเมษายน 2540 ถึงเดือนธันวาคม 2540 หลังจากเก็บตัวอย่างมาได้แล้ว ได้นำตัวอย่างดังกล่าวมาทำการปลูกเพื่อทำการศึกษาลักษณะทางพืชไร่ต่าง ๆ ที่แปลงทดลองของสถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรบรมการเกษตรแม่เหียะ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน 2541 ผลการศึกษาพบว่าสามารถเก็บตัวอย่างถั่วลิสงมาได้ทั้งหมด 6 ตัวอย่าง คือจากเชียงใหม่ 2 ตัวอย่างโดยเก็บได้จากอำเภอพร้าว 1 ตัวอย่าง และอำเภอแม่แตง 1 ตัวอย่าง จังหวัดลำปางที่อำเภอแม่ทะ 1 ตัวอย่าง จังหวัดพะเยาที่อำเภอ เชียงคำ 1 ตัวอย่าง จังหวัดเชียงรายที่อำเภอเมือง 1 ตัวอย่างและจังหวัดน่านที่อำเภอเมือง 1 ตัวอย่าง สำหรับลักษณะหลาย ๆ อย่างที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกันเช่น ทรงต้นมีลักษณะเป็นพุ่มตั้งอยู่ในกลุ่ม สแปนิช-วาเล็นเซีย อายุวันออกดอก อายุวันเก็บเกี่ยวที่ใกล้เคียงกัน ลักษณะของฝัก จำนวนเมล็ดต่อฝักผลผลิตฝักสด ผลผลิตฝักแห้ง น้ำหนัก 100 เมล็ด และเปอร์เซ็นต์กะเทาะที่คล้ายคลึงกัน อย่างไรก็ตามมี 1 ตัวอย่างจากทเก็บมาจากอำเภอแม่แตงจังหวัดเชียงใหม่ที่มีสีของลำต้นและสีของเมล็ดที่ แตกต่างกันออกไปจากของอีก 5 ตัวอย่างคือมีสีลำต้น สีผิวเม,เป็นสีแดงม่วงขณะที่ตัวอย่างอื่น ๆ มีลำต้นเป็นสีเขียวและสีผิวเมล็ดเป็นสีชมพู