การตรวจวิเคราะห์ออกโซลินิค แอซิค ในผลิตภัณฑ์กุ้งกุลาดำแช่เยือกแข็งโดยวิธี HPLC
วรรณวิภา สุวรรณรักษ์
เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 3 ปี 2539 กองพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ
2539
บทคัดย่อ
ผลจากการตรวจพบการตกค้างของสารปฏิชีวนะ ในกุ้งกุลาดำแช่เยือกแข็งส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นในปี 2533 ทำให้กรมประมงจัดทำมาตรการควบคุมและตรวจสอบสารปฏิชีวนะ เพื่อให้การใช้ถูกต้องตามหลักวิชาการ และการตกค้างอยู่ในระดับที่ประเทศผู้นำเข้ายอมรับ จากการตรวจสอบการตกค้างของสารปฏิชีวนะ โดยเฉพาะออกโซลินิก แอซิค ในกุ้งกุลาดำแช่เยือกแข็งที่ส่งออกโดยวิธี HPLC (High Performance Liquid Chromatography) พบว่า ในระหว่างปี 2537 – 2538 ตรวจพบออกโซลินิก แอซิค ลดลงจากร้อยละ 0.81 ในปี 2537 เหลือร้อยละ 0.55 ในปี 2538 นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณความเข้มข้นของออกโซลินิก แอซิคที่ตรวจพบในปี 2538 ร้อย 71 อยู่ที่ระดับความเข้มข้นน้อยกว่า 0.1 มก/กก เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 55 ในปี 2537 และที่ระดับความเข้มข้น 0.1-0.3 มก/กก ลดลงจากร้อยละ 27 ในปี 2537 เหลือร้อยละ 15 ในปี 2538 แสดงให้เห็นว่ามาตรการดังกล่าวนี้ สามารถลดปัญหาการตรวจพบสารปฏิชีวนะตกค้าง (ออกโซลินิก แอซิค) ได้ในระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ดี การให้ความรู้ในการใช้สารปฏิชีวนะ ที่ถูกต้องกับเกษตรกร จะเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด