บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาการแพร่กระจาย และการตกค้างของยา ซัลฟาโมโนเมท็อกซีนโซเดียมในกุ้งกุลาดำ

อุษณีย์ เอกปณิธานพงศ์ และ สิทธิ บุณยรัตผลิน

รายงานการสัมมนาวิชาการประจำปี 2535 กรมประมง, วันที่ 16-18 กันยายน 2535 ณ สถาบันวิจัยประมงน้ำจืด บางเขน. หน้า 263-267.

2535

บทคัดย่อ

การศึกษาการแพร่กระจาย และการตกค้างของยา ซัลฟาโมโนเมท็อกซีนโซเดียมในกุ้งกุลาดำ ทำการศึกษาการแพร่กระจายและการตกค้างของยาซัลฟาโมโนเมท็อกซีนโซเดียมโดยการฉีดยาเข้าที่กล้ามเนื้อปล้องที่ 6 และผสมอาหารให้กินเก็บตัวอย่างกุ้งหลังจากให้ยาที่ระยะเวลาต่าง ๆเพื่อนำมาวิเคราะห์หาปริมาณยาในฮีโมลิมป์ , กล้ามเนื้อและตับอ่อน ด้วยวิธีของ Bratton and Marshall (1939) จากการทดลองพบว่าระดับความเข้มข้นของยาซัลฟาโมโนเมท็อกซีนโซเดียมในฮีโมลิมป์มากกว่าในเนื้อ และตับอ่อน ทั้งโดยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อปล้องที่ 6. และโดยการผสมยาในอาหาร แต่จะพบยานี้มีการตกค้างในเนื้อมากกว่าในฮีโมลิมป์อย่างไรก็ตามปริมาณยาที่นะสมในเนื้อจะ ลดลง อย่างรวดเร็วหลังจากหยุดยา 3 วันและตรวจไม่พบยาหลังจากหยุดยา 7 วัน ดังนั้นในการใช้ยาซัลฟาโมโนเมท็อกซีนโซเดียม ควรหยุดยาก่อนจับอย่างน้อยเป็นเวลา 7 วัน