บทคัดย่องานวิจัย

การวิจัยพัฒนาวิธีกำจัดแมลงด้วยความร้อนสำหรับกำจัดแมลงวันทองในผลมังคุดเพื่อการส่งออก

อุดร อุณหวุฒิ และ สลักจิต พานคำ

กรมวิชาการเกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

2544

บทคัดย่อ

โครงการการวิจัยพัฒนาวิธีกำจัดแมลงด้วยความร้อนสำหรับกำจัดแมลงวันทองในผลมังคุดเพื่อการส่งออก   ศึกษาความทนทานของแมลงวันทองoriental fruitfly, Bactroceradorsalis (Hendel)ระยะไข่หนอนวันที่ 1, 2 และ 3ต่อความร้อนวิธีอบไอน้ำปรับสภาพความชื้นสัมพัทธ์ พบว่าไข่อายุ24 ชั่วโมงทนทานต่อความร้อนมากที่สุดระดับความชื้นสัมพัทธ์ในช่วงแรกของวิธีอบไอน้ำปรับสภาพความชื้นสัมพัทธ์เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตายของไข่โดยอัตราการตายของไข่มีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อระดับความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศรร้อนช่วยก่อนที่อุณหภูมิผลจะถึง43O ซ.เพิ่มสูงขึ้นขณะที่ระยะเวลาการอบมังคุดให้อุณหภูมิผลเพิ่มถึงระดับกำหนดเดียวกันซึ่งใช้เวลานานแตกต่างกันเป็นปัจจัยที่ไม่มีผลกระทบต่ออัตราการตายของไข่นอกจากนี้ขนาดผลมังคุดเป็นปัจจัยที่ไม่มีผลกระทบต่ออัตราการตายของไข่การศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดแมลงของวิธีอบไอน้ำปรับสภาพความชื้นสัมพัทธ์พบว่าที่อุณหภูมิผล45O ซ.นาน1 : 35 ชั่วโมงสามารถกำจัดไข่แมลงวันทองในผลมังคุดจำนวนประมาณ123,823ฟองตายทั้งหมดซึ่งมีประสิทธิภาพได้ตามมาตรฐานของวิธีการกำจัดศัตรูพืชด้นกักกันพืช

การศึกษาด้านความเสียหายของมังคุดจากความร้อนพบว่ามังคุดหลังจากผ่านความร้อนวิธีอบไอน้ำปรับสภาพความชื้นสัมพัทธ์แล้วควรเก็บไว้ในห้องอุณหภูมิระหว่าง10-15O ซ.ปริมาณมังคุดในห้องบรรจุผลไม้ของเครื่องอบความร้อนเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเสียหายของมังคุดจากความร้อนจำนวนมังคุดเสียหายจากความร้อนมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณมังคุดในห้องบรรจุผลไม้ที่เพิ่มขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายของมังคุดจากความร้อนควรอบมังคุดขณะที่ภายในห้องบรรจุผลไม้มีปริมาณมังคุดน้ำหนักไม่เกิน70 กก. / ลบม. หรือไม่เกิน50เปอร์เซ็นต์ของห้องบรรจุผลไม้มังคุดสามารถทนทานต่อความร้อนจากวิธีอบไอน้ำปรับสภาพความชื้นสัมพัทธ์ที่อุณหภูมิผล45, 46 และ47O ซ.เป็นระยะเวลานานสูงสุดไม่เกิน2, 1และ0 : 30ชั่วโมงตามลำดับโดยมังคุดไม่แสดงความเสียหายอย่างรุนแรงจากความร้อน3อาการได้แก่อาการผลแข็งเนื้อแตก เป็นรูพรุนและเนื้อเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล