บทคัดย่องานวิจัย

การพัฒนาและการตรวจจับอาการเนื้อแก้วและยางไหลในผลมังคุด

ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล สายัณห์ สดุดี พรชัย พฤกษ์ภัทรานนต์ และคณดิถ เจษฎ์พัฒนานนท์

รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัย ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา, 2544. 14 หน้า.

2544

บทคัดย่อ

การพัฒนาและการตรวจจับอาการเนื้อแก้วและยางไหลในผลมังคุด    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก2ประการคือ 1) ศึกษาหาวิธีการวัดทางไฟฟ้าที่สามารถใช้ตรวจจับอาการเนื้อแก้วและยางไหลภายในผลโดยไม่ทำลาย และ 2)ผลของน้ำที่มีต่อการเกิดอาการเนื้อแก้วและยางไหลในผลมังคุด

ในการศึกษาหาวิธีการวัดทางไฟฟ้าได้ศึกษา2วิธีคือวิธีการวัดสัญญาณอุลตร้าซาวด์และวิธีการวัดสัญญาณเสียงที่ได้จากการเคาะผลมังคุดที่ใช้ในการทดลองเป็นผลมังคุดจากจังหวัดระนองพังงาและแปลงปลูกที่มีการควบคุมการให้น้ำพบว่าวิธีการวัดสัญญาณอุลตร้าซาวด์ไม่สามารถนำมาใช้ในการคัดแยกได้ในขณะที่วิธีการวัดสัญญาณเสียงที่ได้จากการเคาะสามารถให้ผลคัดแยกที่ดีกว่าโดยต้องนำเทคนิคของการวิเคราะห์สัญญาณและโครงข่ายประสาทเข้ามาช่วยจากการทดลองพบว่าวิธีการวิเคราะห์สัญญาณที่เหมาะสมคือการวิเคราะห์กำลังเชิงสเปกตรัมซึ่งให้ผลการคัดแยกดีกว่าการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์ของโมเดลออโตรีเกรสซีฟเมื่อนำผลการคัดแยกด้วยค่ากำลังเชิงสเปกตรัมเปรียบเทียบกับวิธีการลอยน้ำซึ่งเป็นวิธีที่มีผู้วิจัยมาก่อนพบว่าทั้งสองวิธีให้ความถูกต้องในการคัดแยกด้วยค่ากำลังเชิงสเปกตรัมในขณะที่วิธีการลอยน้ำมีความถูกต้องในการคัดลูกเสียวูงกว่าการคัดแยกด้วยค่ากำลังเชิงสเปกตรัมอย่างไรก็ตามวิธีการคัดแยกด้วยค่ากำลังเชิงสเปกตรัมมี ความสามารถในการคัดแยกผลที่เป็นยางได้ดีกว่าวิธีการลอยน้ำ

เพื่อศึกษาอิทธิพลของน้ำที่มีต่อการเกิดเนื้อแก้วและยางไหลจึงได้ดำเนินการทดลองเป็น 3 การทดลองย่อย คือ 1) การศึกษาในสภาพสวนที่จังหวัดระนองและพังงานโดยทำการเก็บผลผลิต 5 ครั้งในช่วงที่มีฝนตกเพื่อศึกษาอิทธิพลของน้ำฝนที่มีต่อการเกิดเนื้อแก้วและยางไหลผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าฝนที่ตกหนักในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวมีผลต่อการเกิดเนื้อแก้วอย่างมีนัยสำคัญแต่การเกิดยางไหลน่าจะเป็นผลจากความแปรปรวนของสภาพความชื้นดินอย่างฉับพลันจากข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่นำไปสู่การทดลองที่ 2ซึ่งทำในแปลงปลูกที่มีการวางแผนแบบสุ่มตลอดมี4วิธีทดลองคือ1) ให้น้ำระดับความชื้นภาคสนามโดยมีการให้น้ำเมื่อศักย์ของน้ำในดินลดลงใกล้ 100 kPa 2)ให้น้ำเป็นเวลา10 ชั่วโมงทางผิวดิน3) ให้น้ำทางผิวดินและทรงพุ่ม 10 ชั่วโมง และ 4) ควบคุมหรือพืชได้รับน้ำฝนตามธรรมชาติทำการทดลอง 4 ซ้ำดังนั้นใช้มังคุดอายุ13 ปีจำนวน 16ต้น (1 ต้น ต่อ 1 ซ้ำ)ต้นมังคุดในวิธีทดลองที่ 1, 2 และ 3 อยู่ภายใต้โครงสร้างไม้ที่มุงหลังคาด้วยพลาสติกใสเพื่อป้องกันน้ำฝนการทดลองเริ่มเมื่อ9สัปดาห์หลังดอกบานผลปรากฎว่าผลมังคุดเนื้อแก้วพบมากที่สุดในวิธีทดลองที่ 3(60.7%)ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากวิธีทดลองที่ 2 (23.7%),(7.0%)และวิธีทดลองที่ 1 (0 %)สภาพที่มีอิทธิพลของน้ำรุนแรงคือวิธีทดลองที่ 3ซึ่งพบผลแตกเกิดขึ้นด้วยแม้ว่าในวิธีทดลองที่ 1 ไม่พบอาการเนื้อแก้วแต่พบว่าผลส่วนใหญ่มีอาการยางไหลถึง87.7% ส่วนการทดลองที่ 3เป็นการศึกษาเพื่อแสดงให้เห็นว่าน้ำผ่านทางผิวผลได้ดังนั้น จึงได้ทดลองในสภาพแปลงปลูกโดยใช้ต้นมังคุดเสียบยอดอายุ 13 ปีจำนวน3ต้นโดยวิธีการวางแผนแบบสุ่มตลอดมี 4 วิธีทดลองคือ 1) ปล่อยตามธรรมชาติ2) หยดน้ำที่บริเวณรอยต่อของกลีบเลี้ยง 3) หยดน้ำที่ผิวผล และ4) แช่น้ำครึ่งผลผลปรากฎว่าการแช่น้ำครึ่งผลมีแนวโน้มทำให้เกิดเนื้อแก้วสูงสุดมีน้ำในเนื้อและเปลือกมากที่สุด ส่วนการหยดน้ำที่ขั้วผลและผิวผลมีแนวโน้มที่ทำให้น้ำในเปลือกและในเนื้อเพิ่มขึ้นมากกว่าผลที่ปล่อยตามธรรมชาติ