ศึกษาความเป็นไปได้ในการแก้ไขผลแตกของลองกอง (Lansium domesticm Corr.) โดยการใช้แคลเซียมคลอไรด์
จิรานาฎ รัตนพงศ์
วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พืชศาสตร์) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2538. 56 หน้า.
2538
บทคัดย่อ
ศึกษาความเป็นไปได้ในการแก้ไขผลแตกของลองกอง (Lansium domesticm Corr.) โดยการใช้แคลเซียมคลอไรด์
การแตกของผลลองกอง เป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นภายใต้ สภาพความแปรปรวนของความชื้นในดินและปริมาณน้ำฝนในระยะเก็บเกี่ยวผล ทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหายดังนั้นจึงได้ทำการ ทดลองเพื่อหาสาเหตุการแตกของผล และให้สารเคมีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยแบ่งการทดลองออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) การศึกษาสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับการแตกของผลลองกองโดยการวัดปริมาณ ความชื้นในดินที่ระดับความลึก 30, 60 และ 90 เซนติเมตร และ เก็บข้อมูลน้ำฝนตลอดระยะการทดลอง 2) การฉีดพ่นสารแคลเซียม คลอไรด์ป้องกันการแตกของผลโดยวางแผนการทดลองแบบ randomized complete block (RCB) จัดสิ่งทดลองแบบ factorial มี 2 ปัจจัย ที่ศึกษา ได้แก่ ระยะเวลาให้สาร (9, 10 และ 11 สัปดาห์หลังจากติดผล) และระดับความเข้มข้นของสาร (0.3 และ 5%) ผลการทดลองพบว่าจำนวนผลแตกเพิ่มขึ้น เมื่อระดับความชื้นในดินลดลงต่ำมาก การฉีดพ่นสารแคลเซียมคลอไรด์ความเข้มข้น 3 และ 5 เปอร์เซ็นต์ มีผลทำให้ปริมาณผลแตกเพียง 8.8 และ 7.6 เปอร์เซ็นต์ซึ่งต่ำกว่าหน่วยทดลองเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญ (14.1%) นอกจากนี้การฉีดพ่นสารแคลเซียมคลอไรด์ที่ความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์ สามารถเพิ่มความตึงผิวผล ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ และอัตราส่วนปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ต่อปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ (TSS : TA) ระยะเวลาให้สารไม่มีผลต่อการแตกของผลและคุณภาพผล