การตรวจหาความแก่อ่อนของทุเรียนโดยการสั่นสะเทือนเปรียบเทียบกับการใช้อุลตร้าโซนิกส์
วุฒิวัฒน์ คงรัตนประเสริฐ
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต วิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมไฟฟ้า) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. 2543. 159 หน้า.
2543
บทคัดย่อ
การตรวจหาความแก่อ่อนของทุเรียนโดยการสั่นสะเทือนเปรียบเทียบกับการใช้อุลตร้าโซนิกส์
ในการตรวจหาความแก่อ่อนของทุเรียนแบบไม่ทำลายเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างมากในการควขบคุมคุณภาพ เนื่องจากทุเรียนมีคุณสมบัติเฉพาะอย่างเช่น มีเปลือกหนา, รูปทรงที่ไม่แน่นอน, ผิวไม่เรียบมีหนามแหลม, และมีความใหญ่ เป็นต้น การหาความแก่อ่อนแบบไม่ทำลายได้เป็นที่ต้องการแต่กระทำได้ยาก วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการตรวจหาความแก่อ่อนของทุเยนแบบไม่ทำลาย 2 วิธี โดยการใช้การสั่นสะเทือนและอุลตร้าโซนิกส์ในวิธีกรสั่นสะเทือน การสั่นสะเทือนแบบคงที่ถูกป้อนให้กับผลทุเรียนตรงบริเวณ ร่องหนามกลางพลู ส่งผลให้ทุเรียนเกิดการสั่นสะเทือน และวัดการตอบสนองของผลทุเรียนต่อความถี่ในการสั่นสะเทือนด้วยชุดวัดความเข้มแสง โดยสัญญาณที่ได้ถูกนำไปแยกหาส่วนของความถี่สูงด้วยการแปลงเวฟเล็ตแบบดิสครีต (Discrete Wavelets Transform) และหาความหนาแน่นความแถบความถี่ (Power Spectral Density) และทำการจับคู่ (Template matching) ด้วยการสหสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่างความหนาแน่นของแถบความถี่สูงกับแบบรูป (Template) เพื่อหาความแก่อ่อนของทุเรียน ในการทดลองได่ทำการเปรียบเทียบกับผลลัพธ์ของวิธีหาร้อยละของน้ำหนักแห้ง (Percent of dry-weight) ซึ้งเป็นวิธีการหาความแก่อ่อน ที่ถือเป็นมาตรฐานผลลัพธ์ที่ได้มีความถูกต้องร้อยละ 75.92 ในวิธีอุลตร้าโซนิกส์ คลื่นอุลตร้าโซนิกส์จากพิเซอิเล็กตริก (ตัวส่ง) ถูกป้อน ให้กับผลทุเรียนตรงร่องหนามบริเวณกลางพลู และวัดการตอบสนองด้วยพิโซอิเล็กตริก (ตัวรับ) และนำสัญญาณที่ได้ไปประมวลผลด้วยการสหสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่างความหนาแน่น ของแถบความถี่สูงของสัญญาณอุลตร้าโซนิกส์ที่วัดได้กับแบบ (Template) เพื่อหาความแก่อ่อนของทุเรียนที่สัมพันธ์กับการดูดกลืนสัญญาณอุลตร้าโซนิกส์ของผลทุเรียนตามระดับความแก่อ่อนในการทดลองกับทุเรียน 81 ผล ได้ทำการเปรียบเทียบกับผลลัพธ์ของวิธีหาร้อยละของน้ำหนักแห้งผลลัพธ์ที่ได้มีความถูกต้องร้อยละ 93.93