บทคัดย่องานวิจัย

ผลกระทบของอุณหภูมิต่ออัตราการหายใจของผักและผลไม้สดและค่าความสามารถในการซึมผ่านของก๊าซผ่านฟิล์มพอลิเมอร์

นภาวิณี วินิจฉัย

วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.) ภาควิชาวิศวกรรมเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. 272 หน้า.

2544

บทคัดย่อ

ผลกระทบของอุณหภูมิต่ออัตราการหายใจของผักและผลไม้สดและค่าความสามารถในการซึมผ่าน ของก๊าซผ่านฟิล์มพอลิเมอร์ งานวิจัยนี้ได้วัดอัตราการหายใจของมะเขือเทศ กล้วยน้ำหว้า ส้มเขียวหวาน และพริกชี้ฟ้า ในระบบปิดที่อุณหภูมิ 5+1, 11+1 และ 29+1 องศาเซลเซียส เพื่อศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิต่ออัตราการไยใจและได้วัดค่าความสามารถในการซึมผ่านของก๊าซผ่านฟิล์ม พอลิเมอร์ด้วยอุปกรณ์ที่สร้างขึ้นที่อุณหภูมิ 5+1, 11+1 และ 29+1 องศาเซลเซียส เพื่อศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิต่อค่าความสามารถในการซึมผ่านของก๊าซออกซิเจนและก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ผ่านฟิล์มพอลิเอทธิลีนความหนาแน่นต่ำและฟิล์มพอลิโพรพิลีน สำหรับอัตราการหายใจนั้น ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า กลไกการหายใจของมะเขือเทศ กล้าวน้ำหว้า ส้มเขียนหวานน่าจะเป็นไปตามกลไกของแบบจำลองอัตราการหายใจของไมเคิลลิสเมนเทน ชนิดมีการยับยั้งแบบอันคอมเพททิทีฟ (Michaelis-Menten uncompetitive type equation) หรือชนิดมีการยับยั้งแบบนอนคอมเพททิทีฟ (Michaelis-Menten noncompetitive type equation) ส่วนพริกชี้ฟ้าน่าจะเป็นไปตามกลไกของแบบจำลองอัตราการไยใจของไมเคิลลิสเมนเทนชนิดมีการยับยั้งแบบอันคอมเพททิทีฟ พารามิเตอร์ VmI (ค่าอัตราการหายใจที่สูงที่สุด) ของทุกแบบจำลองมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นสำหรับผักและผลไมม้สดทั้งสี่ชนิดส่วนพารามิเตอร์ KmI (ค่าคงที่ไมเคิลลิสเมนเทน) และ KI (ค่าคงที่ของการยับยั้ง) ของแต่ละแบบจำลองแปรผันกับอุณหภูมิในลักษณะต่าง ๆ กันขึ้นกับชนิดของผักและผลไม้สด แต่โดยรวมอัตราการหายใจของผักและผลไม้สดทั้งสี่ชนิดแปรผันกับอุณหภูมิตามสมการของอาร์รีเนียส (Arrhenius equation) สำหรับค่าความสามารถในการซึมผ่านของก๊าซผ่านฟิล์มพอลิเมอร์นั้น ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์การทดลองที่ได้จัดสร้างขึ้นสามารถใช้วัดค่าความสามารถในการซึมผ่านของก๊าซผ่านฟิล์มพอลิเมอร์ได้ และพบว่าค่าความสามารถในการซึมผ่านของก๊าซผ่านฟิล์มพอลิเมอร์ขึ้นกับโครงสร้างของฟิล์มพอลิเมอร์ ชนิดของก๊าซ และแปรผันกับอุณหภูมิตามสมการอาร์รีเนียส ฟิล์มพอลิเอทธิลีนความหนาแน่นต่ำมีค่าความสามารถในการซึมผ่านของก๊าซที่อุณหภูมิอนันต์ (PIo) สำหรับก๊าซออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับ 8.447 และ 4.507 cm2s-1 ตามลำดับ และค่าพลังงานก่อกัมมันต์ของค่าความสามารถในการซึมผ่านของก๊าซ (EpI) เท่ากับ 49.29 และ 45.98 kJ mol –1 ตามลำดับ ฟิล์มพอลิโพรพิลีนมีค่า ความสามารถในการซึมผ่านของก๊าซที่อุณหภูมิอนันต์ (PIO) สำหรับก๊าซออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับ 1.130 และ 1.109 cm 2s-1 ตามลำดับ และค่าพลังงานก่อกัมมันต์ของค่าความสามารถในการซึมผ่านของก๊าซ (Ep)เท่ากับ 45.17 และ 43.34 kJ mol -1 ตามลำดับ