คุณภาพและปริมาณเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอมที่ได้จากการเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องดูดฝุ่น
จตุรงค์ จันทร์สี่ทิศ
วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2542. 44 หน้า.
2542
บทคัดย่อ
เนื่องจากการทยอยบานของดอกในช่อทำให้เมล็ดแก่ไม่พร้อมกันของเมล็ดพันธุ์ผักกาดหอม ทำให้เกิดการสูญเสียเมล็ดพันธุ์ปลูกผักกาดหอมใบเพื่อทำการผลิตเมล็ดพันธุ์ พบว่าการเก็บเกี่ยว ด้วยเครื่องดูดผุ่นสามารถลดความสูญเสียเมล็ดพันธุ์เนื่องจากการร่วงหล่นได้โดยได้ทดสอบ ขนาดความเร็วลม 3 ขนาด คือ 14.6, 16.6 และ 18.6 เมตรต่อวินาที ทำการเก็บเกี่ยว 7 ครั้ง ที่ 25, 30, 35, 40, 50 และ 55 วัน หลังดอกแรกบาน พบว่าที่ความเร็วลมดูด 16.6 และ 18.6 เมตรต่อวินาที ให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันคือ 44.37 และ 43.77 กิโลกรัมต่อไร่ แต่เปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดพันธุ์ที่เก็บเกี่ยวด้วยความเร็วลม 18.6 เมตรต่อวินาที โดยมีเปอร์เซ็นต์ความงอก 79.02 และ 75.65 มีค่าProductivity Index 67.62และ 63.02 ตามลำดับ การเก็บเกี่ยวที่ 25, 50 และ 55 วันหลังดอกบานนั้นให้ปริมาณเมล็ดพันธุ์น้อยมากจึงลดจำนวนขนาดความเร็วลมเหลือ14.6 และ 16.6 เมตรต่อวินาที และลดจำนวนครั้งที่ทำการเก็บเกี่ยวเหลือที่ 30, 35, 40 และ 45 วันหลังดอกบานในการทดลองต่อไปและทำการทดสอบจำนวนครั้งที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ด้วยเครื่องดูดฝุ่นพบว่าการเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ 3 ครั้งที่ 30, 40 และ 45 วันหลังดอกบาน ด้วยเครื่องดูดฝุ่นที่ระดับความเร็วลม 16.6 เมตรต่อวินาที เหมาะสมที่สุดคือ ใช้เวลาในการเก็บเกี่ยว 6 : 42 นาทีต่อต้น ได้ผลผลิต 35.38 กิโลกรัมต่อไร่ และคุณภาพเมล็ดพันธุ์ที่มีความงอก 87.84 เปอร์เซ็นต์ และมีค่า Productivity Index 66.62