ความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าทำลายของเชื้อรา Aspergillus flavus และการสร้างสารพิษอะฟลาทอกซิน กับลักษณะทางพืชไร่ องค์ประกอบผลผลิต และรูปแบบไอโซไซม์และโปรตีนของถั่วลิสง สายพันธุ์ต่างๆ
อกนิษฐ์ ชาวนา
วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชไร่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2540. 134 หน้า.
2540
บทคัดย่อ
ความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าทำลายของเชื้อรา Aspergillus flavus และการสร้างสารพิษอะฟลาทอกซิน กับลักษณะทางพืชไร่ องค์ประกอบผลผลิต และรูปแบบไอโซไซม์และโปรตีนของถั่วลิสง สายพันธุ์ต่างๆ
ปัญหาการบริโภคเมล็ดถั่วลิสงที่สำคัญปัญหาหนึ่งคือ การสร้างสารพิษอะฟลาทอกซินในเมล็ดจากการเข้าทำลายของเชื้อรากลุ่ม
Aspergillus flavusการปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสงให้มีการเข้าทำลายของเชื้อและสร้างสารพิษในเมล็ดน้อยเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในการนี้จึงได้ทำการศึกษาเพื่อตรวจสอบลักษณะที่ช่วยในการคัดเลือกพันธุ์ที่มีการเข้าทำลายของเชื้อรา
A. flavusและปริมาณสารพิษ น้อยทำให้การัดเลือกมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเข้าทำลายของเชื้อรา
A. flavusบนเมล็ดและการสร้างสารพิษอะฟลาทอกซินในเมล็ด กับลักษณะทางพืชไร่ และองค์ประกอบผลผลิตในถั่วลิสง 20 สายพันธุ์พบว่าลักษณะที่ทำการศึกษาเกือบทุกลักษณะมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ ยกเว้นอายุวันออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์และความยาวของเมล็ดที่ไม่พบความแตกต่างระหว่างพันธุ์เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พบว่า ลักษณะองค์ประกอบของเมล็ด (ความหนาของเมล็ด) และเยื่อหุ้มเมล็ด และเปลือกฝัก (น้ำหนักเยื่อหุ้มเมล็ด) มีค่าสหสัมพันธ์ ทางบวกกับการสร้างสารพิษอะฟลาทอกซินในเมล็ดส่วนลักษณะองค์ประกอบผลผลิต (จำนวนฝักแก่ต่อต้น) และองค์ประกอบของเมล็ด (เปอร์เซ็นต์ความชื้นของเมล็ด) มีค่าสหสัมพันธ์ ทางบวกกับปริมาณเชื้อรา
A.flavusของเม็ดที่ปลูกเชื้อในแปลงและลักษณะเยื่อหุ้มเมล็ด (เปอร์เซ็นต์แทนนิน) มีค่าสหสัมพันธ์ทางลบกับปริมาณเชื้อรา A.flavus ของเมล็ด ที่ปลูกเชื้อในห้องปฏิบัติการเมื่อพิจารณาค่าพาธโคเอฟฟิเซียนท์ พบว่าลักษณะการเจริญเติบโตซึ่งได้แก่ อายุวันออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์และจำนวนกิ่งแขนงย่อยต่อต้น มีอิทธิพลทางตรงเป็นลบและบวกสูงต่อปริมาณสารพิษอะฟลาทอกซินในเมล็ดตามลำดับ ในลักษณะขององค์ประกอบผลผลิตนั้นพบว่าจำนวนฝักแก่ต่อต้นมีอิทธิพลทางตรง เป็นบวกสูงต่อปริมาณเชื้อรา
A.flavusของเมล็ดที่ปลูกเชื้อในห้องปฏิบิติการและในแปลงส่วนลักษณะจำนวนฝักอ่อนต่อต้นจำนวนเมล็ดต่อต้น และจำนวนเมล็ดต่อฝักมีอิทธิพลทางตรงเป็นผลสูงต่อปริมาณเชื้อรา
A.flavusของเมล็ดที่ปลูกเชื้อในแปลง เมื่อพิจารณาอิทธิพลของเยื่อหุ้มเมล็ดและเปลือกฝัก พบว่าน้ำหนักเยื่อหุ้มเมล็ดมีอิทธิพลทางตรงเป็นลบต่อการสร้างสารพิษในเมล็ดและความหนาของเยื่อหุ้มเมล็ดกับเปอร์เซ็นต์เยื่อหุ้มเมล็ดมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านน้ำหนักเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นบวกและลบสูงตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า เปอร์เซ็นต์เยื่อหุ้มเมล็ดและเปอร์เซ็นต์แทนนินมีอิทธิพล ทางตรงเป็นบวกสูงต่อปริมาณเชื้อรา
A. flavusของเมล็ด ที่ปลูกเชื้อในแปลงในส่วนอิทธิพลของลักษณะองค์ประกอบของเมล็ดพบว่าความหนาของเมล็ดมีอิทธิพลทางตรงเป็นบวกต่อการสร้างสารพิษและเปอร์เซ็นต์ความชื้นของเมล็ดมีอิทธิพล ทางตรงเป็นบวกกับปริมาณเชื้อรา
A. flavus ของเมล็ด ที่ได้รับการปลูกเชื้อในแปลงจากการศึกษารูปแบบไอโซไซม์เอสเตอเรสของถั่วลิสงที่สกัดจากลำต้น ใบ และใบเลี้ยงของต้นกล้าอายุ 4 7 และ 9 วัน พบว่าไม่สามารถแบ่งแยกสายพันธุ์ที่ต้านทางการเข้าทำลายและการสร้างสารพิษของเชื้อราได้ และรูปแบบโปรตีนที่สกัด จากเมล็ดพบว่ามีทั้งหมด 18 รูปแบบซึ่งไม่มีแบบใดเป็นรูปแบบ ที่เฉพาะเจาะจงกับการเข้าทำลายของ
A. flavusและการสร้างสารพิษอะฟลาทอกซิน