บทคัดย่องานวิจัย

อิทธิพลของการทำเทมเปอริงที่มีคุณภาพของเมล็ดข้าวโพดการอบแห้งแบบฟลูอิไดซ์เบด

คงศักดิ์ ชินนาบุญ

วิทยานิพนธ์ (วศ.ม. เทคโนโลยีพลังงาน) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. 2543. 114 หน้า.

2543

บทคัดย่อ

อิทธิพลของการทำเทมเปอริงที่มีคุณภาพของเมล็ดข้าวโพดหลังการอบแห้ง แบบฟลูอิไดซ์เบด วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาถึงระยะเวลที่เหมาะสมในการเก็บเมล็ดข้าวโพดในที่อับอากาศหลังการอบแห้ง แบบฟลูอิไดซ์เบด โดยเมล็ดข้าวโพดมีความชื้นเริ่มต้น 27 และ 30% w.b. อบแห้งครั้งแรกแบบฟลูอิไดซ์เบดที่อุณหภูมิอากาศ 150 C จากนั้นนำเมล็ดไปเก็บในที่อับอากาศ และขั้นตอนสุดท้ายคือ นำเมล็ดข้าวโพดไปเป่าด้วยอากาศแวดล้อม ผลจากการทดลอง พบว่า การเก็บเมล็ดข้าวโพดในที่อับอากาศจะช่วยลดความชื้นในช่วงการแบแห้งครั้งที่สองได้เร็วขึ้น ทำให้ใช้เวลาในการอบแห้งน้อยลง ส่วนผลทางด้านคุณภาพยังไม่สามารถสรุปได้ว่า การเก็บในที่อับอากาศมีส่วนช่วยให้เมล็ดมีการร้าวน้อยลง แต่เมื่อใช้เวลาเก็บในที่อับอากาศให้มากขึ้น จะทำให้เมล็ดคล้ำมากขึ้นและในกระบวนการเป่าด้วยอากาศแวดล้อม พบว่า ความเร็วไม่มีผลต่อคุณภาพของเมล็ดข้าวโพด (ได้แก่ปริมาณ การร้าวและคุณภาพทางด้านสี) ดังนั้นการเลือกความเร็วที่เหมาะสม (0.075-0.375 m/s) จึงขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นเมล็ดข้าวโพด ถ้าหนามากควรใช้ความร้อนลมต่ำ แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของการอบแห้งเมล็ดข้าวโพดที่อุณหภูมิสูงแบบสองขั้นตอน โดยมีการเก็บในที่อับอากาศสามารถทำนายค่าความชื้นที่ลดลงในช่วงของการอบแห้งครั้งแรกและครั้งที่สอง (ที่อุณหภูมิอบแห้ง 150 C ได้ดีพอสมควรผลจากแบบจำลองและการทดลอง ทำให้ทราบว่าระยะเวลาที่เหมาะสมในการเก็บในที่อับอากาศ คือ 40 นาที โดยที่คุณภาพของเมล็ดข้าวโพดอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้