ความสัมพันธ์ระหว่าง ความกว้าง ความยาว ความสูง น้ำหนักเนื้อหอยสด น้ำหนักเนื้อหอยแห้ง ของหอยแมลงภู่ (Perne viridis , Linn) หอยแครง (Anadara granosa, Linn) และหอยลาย (Pephie unduleta, Born) ขนาดจับขายในตลาดอมรพันธุ์
พิสิทธิ์ รัตนวรรณ
ปัญหาพิเศษ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2542. 87 หน้า.
2542
บทคัดย่อ
สรุปผลการศึกษา
1.การวิเคราะห์พารามิเตอร์ต่างๆของหอยแมลงภู่หอยแครงและหอยลายเพื่อหาสมการ
ความสัมพันธ์ระหว่าง น้ำหนักเนื้อหอยสด น้ำหนักเนื้อหอยแห้ง ความกว้าง และความสูงโดยใช้ความยาวเป็นเกณฑ์และระหว่างน้ำหนักเนื้อหอยสด และน้ำหนักเนื้อหอยแห้งในขนาดของหอยขนาดจับขายในตลาดอมรพันธุ์
2.สถานที่เก็บตัวอย่างคือ ตลาดสดอมรพันธุ์ สามแยกเกษตร บางเขน สถานที่วิเคราะห์
ข้อมูล ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3.ระยะเวลาตั้งแต่เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2541 ถึงเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2542
4.ผลการทดลอง
4.1หอยแมลงภู่
หอยจำนวน 107 ตัว น้ำหนัก 3.032 กิโลกรัม
ความยาวเปลือกหอยอยู่ ระหว่าง 53.70 – 103.80 mm ค่าเฉลี่ย คือ 80.40 ± 9.65 mm
ความกว้างเปลือกหอยอยู่ ระหว่าง 26.60-45.00 mm ค่าเฉลี่ย คือ 35.38 ± 4.18 mm
ความสูงเปลือกหอยอยู่ ระหว่าง 16.80-31.40 mm ค่าเฉลี่ย คือ 23.61 ± 2.95mm
น้ำหนักเปลือกหอยสดอยู่ระหว่าง 5.1520-22.3386 กรัม ค่าเฉลี่ย คือ 12.72 ± 3.95 กรัม
น้ำหนักเนื้อหอยสดอยู่ระหว่าง 2.7008-16.5642 กรัม ค่าเฉลี่ย คือ 12.72 ± 3.95 กรัม
น้ำหนักเนื้อหอยแห้งอยู่ระหว่าง 0.37636-2.8839กรัม ค่าเฉลี่ย คือ 1.3554 ± 0.606624 กรัม
น้ำหนักรวมอยู่ระหว่าง 11.0093-66.1695 กรัม ค่าเฉลี่ย คือ 30.87± 10.32 กรัม