บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาคุณภาพของซากวัวเนื้อจากวัวนม (1). คุณภาพของซากวัวตอนและไม่ตอน (2). ศึกษาส่วนตัดของซาก

สด วิปุลานุสาสน์

วิทยานิพนธ์ (กส.บ.) แผนกวิชาสัตวบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2511. 37 หน้า.

2511

บทคัดย่อ

การศึกษาคุณภาพของซากวัวเนื้อจากวัวนม (1) คุณภาพของซากวัวตอนและไม่ตอน (2) ศึกษาส่วนตัดของซาก  จากการทดลองเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างวัวตอนกับไม่ตอนในวัวพันธุ์ลูกผสมเรดเดน โดยนำมาขุน 3 เดือน ด้วยอาหารป่นและหญ้าสด แล้วนำมาฆ่าเพื่อศึกษาซากเมื่ออายุ 16-18 เดือน น้ำหนักเฉลี่ยวัวไม่ตอนเท่ากับ 355 กิโลกรัม และพวกที่ตอนหนัก 310.67 กิโลกรัม

การศึกษาเปรียบเทียบ

1.หาความแตกต่างของความยาว ความหนาและพื้นที่หน้าตัดของเนื้อสันปรากฏว่า ความ

ยาวซาก (carcass length) และความยาวของเซอลอยน์ (sirloin length) และความยาวของเนื้อลอยน์ทั้งหมด (full loin length) นั้นไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ

ส่วนพื้นที่หน้าตัดของเนื้อสัน (longissimus dorsi) ของวัวไม่ตอนจะใหญ่กว่าของวัวตอน

อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01) นอกจากนี้ 7.5 Rib length ของพวกไม่ตอนจะยาวกว่า (p<0.05) และความหนาของไขมัน (fat thickness) ของพวกที่ตอนมีความหนามากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

2.ความแตกต่างของคุณภาพซากทั่วไป ปรากฏว่าเปอร์เซ็นต์วากที่ตกแต่งแล้ว (dressing

percentage) และเปอร์เซ็นต์น้ำหนักลดภายหลังการเก็บในห้องเย็น 24 ชั่วโมง (%shrinkage) ไม่แตกต่างกันและจากการหาส่วนประกอบของเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงไขมัน และกระดูก ระหว่างซี่โครงที่ 9-10 จากชิ้นของ Rib พบว่ามีเปอร์เซ็นต์ของเนื้อแดงและเปอร์เซ็นต์กระดูกไม่แตกต่างกัน ส่วนเปอร์เซ็นต์ไขมันนั้นของพวกที่ตอนจะมีมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิต (p<0.01) สำหรับสีของเนื้อและความนุ่มของเนื้อนั้นไม่แตกต่างกัน เพราะวัวทั้งสองพวกนี้ได้รับการขุนอย่างดีตลอดเวลาและฆ่าเมื่ออายุยังน้อย จึงอยู่ในระยะที่ให้เนื้อคุณภาพดีที่สุด