การนำเนื้อสุกรส่งตลาดในจังหวัดพระนคร
ชาย ปรีชาชาติ
วิทยานิพนธ์ (กส.บ.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2502. 23 หน้า
2502
บทคัดย่อ
ก.ราคาสุกรจะถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับผู้เลี้ยงราคาที่ขึ้นๆลงๆอยู่ในระยะหนึ่งซึ่งเรียกว่า
วัฏจักรของสุกร ในประเทศไทยระยะของการขึ้นลงไม่มีสถิติแน่นอนมูลเหตุที่ทำให้ราคาเปลี่ยนแปลงเนื่องจากสุกรในท้องตลาดมีจำนวนน้อย ถ้ามีสุกรมากในตลาดราคาสุกรก็ถูก ถ้าขณะใดสุกรมีน้อยราคาก็แพง
ข.ในกรณีที่มีการคมนาคมไม่สะดวก หรือระยะทางอยู่ห่างไกลจากพระนครมากๆจะทำ
ให้ค่าขนส่งสูง สุกรจะมีราคาแพง การขนส่ง 3 ทางเมื่อคิดเทียบกันในระยะทาง ปรากฏว่าการขนส่งทางรถยนต์แพงที่สุด การขนส่งทางรถไฟจะถูกกว่า และค่าขนส่งทางเรือจะถูกที่สุด
ค.การควบคุมการคาสุกรในพระนครทำให้ราคาสุกรเปลี่ยนแปลงได้ จากตารางที่ 7 จะ
เห็นว่าราคาใน พ.ศ. 2494 และ 2495 แตกต่างกันมาก ทั้งนี้เพราะปี 2494 ได้ดำเนินการค้าโดยองค์การทหารผ่านศึก ซึ่งมุ่งจะกำจัดราคาเพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภค ทำให้ผู้เลี้ยงขาดทุนจึงเลิกเลี้ยง เมื่อปริมาณผลิตน้อยลงเป็นเหตุให้สุกรขาดตลาด เมื่อทางการเปิดให้ทำการค้าโดยเสรีจึงทำให้ราคาสูงขึ้น จนในปี พ.ศ 2496 คณะกรรมการส่งเสริมการปศุสัตว์แห่งชาติได้พิจารณาเห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรมและประชาชนทำการเลี้ยงสัตว์อยู่ทั่วประเทศ จึงได้รวบรวมบรรดาพ่อค้าทั้งหมดให้เข้าหุ้นดำเนินการเป็นบริษัททหารสามัคคีบริษัทดำเนินกิจการใน พ.ศ. 2496-2497 ปรากฏว่าราคาสุกรลดลงมาเป็นอันดับ ในปลายปี 2497 ปรากฏว่าจำนวนสุกรที่ผลิตมากกว่าจำนวนที่บริโภค ผู้เลี้ยงไม่สามารถจำหน่ายได้ตามกำหนด ราคาจึงตกต่ำจนผู้เลี้ยงขาดทำน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2498 ทางราชการจึงเปิดทำการค้าสุกรโดยเสรีอีกครั้งหนึ่ง ราคาก็สูงขึ้นอีกดังที่เป็นมาแล้ว จนเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2499 ทางราชการได้จัดตั้งสหพันธ์ขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งผู้เลี้ยง ผู้ค้าและผู้บริโภค ซึ่งเป็นการสมควรยิ่ง