บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในด้านเนื้อสุกรชำแหละ และผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรแปรรูปที่สำคัญในประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์

สมภพ มานะรังสรรค์ มงคล เตชะกำพุ และ รุจเวทย์ ทหารแกล้ว

รายงานฉบับสมบูรณ์ เอกสารหมายเลข 3 สนับสนุนการวิจัยโดยกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, สำนักบริการวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540. 1 เล่ม (หน้าไม่เรียงลำดับ).

2540

บทคัดย่อ

การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในด้านเนื้อสุกรชำแหละและผลิตภัณฑ์เนื้อสุกรแปรรูปที่สำคัญในประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ กล่าวโดยสรุปแล้ว พฤติกรรมผู้บริโภคใน 3 ประเทศเป้าหมายภายใต้การศึกษา มีสภาพพลวัตเป็นอย่างมากใช้ช่วงที่ผ่านมาก โดยที่ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นใน 2 ลักษณะใหญ่ ๆคือ ลักษณะแรก ผู้บริโภค 3 ประเทศเป้าหมายมีการบริโภคอาหารนอกบ้านมากขึ้น เพราะประชาชนมีรายได้สูงขึ้น และถือเอาการบริโภคอาหารนอกบ้านเป็นสันทนาการหรือการพักผ่อนที่สำคัญของชีวิต ขณะเดียวกันการขยายตัวของครอบครัวเชิงเดียว (Nucleus Family) ก็ยิ่งกระตุ้นพฤติกรรมการบิโภคอาหารนอกบ้านของผู้บริโภคใน 3 ประเทศเป้าหมายให้เพิ่มสูงขึ้นปีอก เพราะการที่มีสมาชิกน้อยคนในครอบครัว ทำให้การบริโภคในครัวเรือนของประชาชนใน 3 ประเทศ เป้าหมายเองก็มีการบริโภคอาหารประเภทปรุงสำเร็จ (Ready-To-Eat Products) หรือกึ่งปรุงสำเร็จ (Semi-Cooked Products) เพิ่มมากขึ้นอันเนื่องจากมูลเหตุอย่างน้อย 3 ประการ คือ

ประการแรกเกิดจากการขยายตัวจองครอบครัวเชิงเดี่ยวทำให้ยากลำบากต่อการปรุงอาหารที่ต้องมีการเตรียมมาก

ประการที่สอง เกิดจากพัฒนาการของการบรรจุภัณฑ์ (Packaging) และการเก็บรักษาอาหารซึ่งได้รุดหน้าไปมาก ทำให้เทคโนโลยีดังกล่าวมีส่วนในการเก็บรักษาอาหารได้ยายนาน ขณะที่ไม่ทำให้รสชาติของอาหารเสียหายสะดวกต่อการบริโภค ส่งผลให้อาหารจำพวกแช่แข็ง (Frozen) และอาหารแปรรูปที่เก็บรักษาในลักษณะอื่น ๆ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น

ประการที่สาม เกิดจากพัฒนาการทางเทคโนโลยีการเตรียมและปรุงอาหาร ซึ่งได้รุดหน้าไปมากเช่นกัน ตัวอย่างเช่นการใช้เตาไมโครเวฟ ทำให้ผู้บริโภคหันไปหาผลิตภัณฑ์อาหารที่ง่ายต่อการเตรียมและปรุงมากขึ้น

ความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้บริโภคใน 3 ประเทศเป้าหมายข้างต้น ได้ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปต่าง ๆ ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นส่วนที่ส่งให้แก่ร้านอาหารภัตตาคารเพื่อสนองตอบต่อความนิยมในการบริโภคอาหารนอกบ้านของผู้บริโภค หรือการนำไปบริโภคในครัวเรือนเมื่อเป็นเช่นนี้ ศักยภาพในการผลิตเพื่อส่งออกเนื้อสุกรของไทย จึงควรมุ่งไปที่การใช้เนื้อสุกรเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามรายการอาหารแปรรูปซึ่งเป็นที่นิยมใน 3 ประเทศเป้าหมายตามที่ได้มีการเสนอแนะมาแล้ว