บทคัดย่องานวิจัย

การพัฒนาคุณภาพกุ้งเพื่อการส่งออก

ผ่องเพ็ญ รัตตกูล

รายงานการสัมมนาวิชาการประจำปี 2534 กรมประมง วันที่ 16 – 18 กันยายน 2534 ณ สถาบันวิจัยประมงน้ำจืด บางเขน. น. 54 – 60

2534

บทคัดย่อ

การพัฒนาคุณภาพกุ้งเพื่อการส่งออก

สินค้ากุ้งทำรายได้ให้แก่ประเทศสูงถึง 8,000 ล้านบาท (1988) แต่ขณะเดียวกันปัญหาการกักกัน (rejection) เนื่องจากปัญหากุ้งเสื่อมคุณภาพ (decomposed) ปริมาณการปนเปื้อนทั้งจุลินทรีย์และสิ่งแปลกปลอมอื่น (high total viable count and filths) สูง โดยเฉพาะปัญหา Salmonella ซึ่งจากการรายงานของ FDA annual report 1985-1987 พบว่า สินค้ากุ้งไทยต้องเสียหายมากกว่า 50 ล้านบาทต่อปี ดังนั้น งานทดลองศึกษาและแก้ไขปัญหาดังกล่าวกับกุ้งทะเลและกุ้งฟาร์ม โดยทดลองใช้กุ้งขาว (Peneaus merquiensis) และกุ้งกุลาลาย(Peneaus monodon) โดยทดลองใช้วิธีการที่เรียกว่า good handling practice และ good manufacturing practice เพื่อช่วยพัฒนาการผลิตกุ้งแช่แข็ง (headless and shell-on or Individual Quick Frozen=IQF) กุ้งต้ม (peeled cooked frozen shrimp) เพื่อให้สินค้าได้รับการดูแลตั้งแต่หลังจับ (post harvested) การดูแลระหว่างขนส่ง (handling and transportation) ตลอดจนการผลิตในโรงงาน (plant-processed) ให้มีมาตรฐานและถูกสุขลักษณะอนามัยของสินค้าสัตว์น้ำ

นอกจากนั้น ได้ศึกษาหาแหล่งกำเนิดและบทบาทของเชื้อ Salmonella/Shigella ที่มีต่อสินค้ากุ้ง เพื่อใช้เป็นแนวทางการแก้ปัญหาให้เหมาะสมและปลอดจากเชื้อดังกล่าว เป็นต้น

ผลของการศึกษาวิจัยแหล่งกำเนิดของจุลินทรีย์ดังกล่าว ทั้งจากบ่อเลี้ยงและจากทะเล ว่ามีองค์ประกอบใดที่มีส่วนช่วยให้จุลินทรีย์ดังกล่าวเจริญเติบโตหรือถูกกำจัดในสภาวะแวดล้อมเช่นใด ซึ่งผลของงานวิจัยจะช่วยเป็นแนวทางให้โรงงานอุตสาหกรรมกุ้งทั้งแช่แข็งและอื่นๆ ได้นำไปปรับปรุงแก้ไขปัญหาการผลิตทั้งในโรงงานและการผลิตเบื้องต้น ให้มีมาตรฐานและลดปัญหาการเสื่อมคุณภาพการปนเปื้อนและกักกันสินค้าของต่างประเทศ