การพัฒนาวิธีการบรรจุเพื่อชะลอการสุกของกล้วยไข่สำหรับการส่งออกโดยทางเรือ
สายชล เกตุษา และเฉลิมชัย วงษ์อารี
รายงานผลการวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ, 2536. 31 หน้า.
2536
บทคัดย่อ
การพัฒนาวิธีการบรรจุเพื่อชะลอการสุกของกล้วยไข่สำหรับการส่งออกโดยทางเรือ
การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการบรรจุกล้วยไข่เพื่อส่งออกทางเรือ โดยการบรรจุกล้วยไข่ดิบ 6-7 หวี ลงในถุงพลาสติกโพลีเอทธิลีน ขนาด 30 x 50 นิ้ว หนา 4.6 มม. (ชนิดอย่างบาง) ป้อนปากถุงและไม่เจาะรูภายในถุงพลาสติกทั้งมีและไม่มีสารดูดซับเอทธิลีนและคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งผลกล้วยไข่ในถุงพลาสติกนี้บรรจุอยู่ในกล่องกระดาษลูกฟูก ขนาด 16
´ 19
´ 19 นิ้ว และเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 14
+ 1
°ซ. (ความชื้นสัมพัทธ์ 85-90%) ผลปรากฏว่าผลกล้วยไข่ที่อยู่ในถุงพลาสติกมีสารดูดซับเอทธิลีนพร้อมทั้งมีและไม่มีสารดูดซับเอทธิลีนมีอายุการเก็บรักษาได้นาน 6 สัปดาห์ แต่ผลกล้วยไข่ในถุงพลาสติกที่มีทั้งสารดูดซับเอทธิลีนและคาร์บอนไดออกไซด์มีสภาพความสด และสีเขียวเข้มกว่าผลกล้วยไข่ที่อยู่ในถุงพลาสติกมีสารดูดซับเอทธิลีนแต่ไม่มีสารดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ ผลกล้วยไข่ที่มีอายุการเก็บรักษานาน 6 สัปดาห์ เมื่อนำไปบ่มด้วยเอทธิลีนสามารถสุกได้เป็นปกติและมีรสชาติเหมือนกับผลกล้วยไข่ที่ไม่ได้ผ่านการเก็บรักษา ส่วนผลกล้วยไข่ไม่ได้อยู่ในถุงพลาสติกแต่วางอยู่ในกล่องกระดาษลูกฟูก ปรากฏว่าสีผิวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองภายในสัปดาห์ที่ 3 ของการเก็บรักษา