การทดสอบแบคทีเรียแอนทาโกนิสด์ขั้นต้นในการควบคุมโรคผลเน่าของเงาะหลังการเก็บเกี่ยวที่เกิดจากรา Colletotrichum gloeosporioides โดยชีววิธี
นวลวรรณ ฟ้ารุ่งสาง อุดม ฟ้ารุ่งสาง สมศิริ แสงโชติ จริงแท้ ศิริพานิช และกณิษฐา สังคะหะ
รายงานผลการวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ, 2536. 12 หน้า.
2536
บทคัดย่อ
การทดสอบแบคทีเรียแอนทาโกนิสด์ขั้นต้นในการควบคุมโรคผลเน่าของเงาะหลังการเก็บเกี่ยวที่เกิดจากรา Colletotrichum gloeosporioides โดยชีววิธี
แยกจุลินทรีย์ที่ผิวพืชจากส่วนต่างๆ ของต้นเงาะ คือ ยอดอ่อน ช่อดอก ผลอายุต่างๆ และน้ำค้างจากพุ่มใบ โดยใช้อาหาร NYDA คัดเลือก antagonistic bacteria ที่แยกได้ โดยการทดสอบขั้นแรกกับรา
Colletotrichum gloeosporioides 6 isolates ซึ่งทำการคัดเลือก antagonistic bacteria ได้ประมาณ 200 isolates ลักษณะเด่นของการเป็น antagonist ที่แสดงให้เห็นในการสำรวจครั้งนี้ คือ การสร้างปฏิชีวนสาร และการเจริญเติบโตที่รวดเร็วมาก จนครอบครองพื้นที่การเจริญเติบโตของรา อิทธิพลของการเป็น antagonist ที่มีต่อราที่ใช้ทดสอบ แสดงให้เห็นโดยการเจริญเติบโตที่ถูกกำจัดร่วมกับความผิดปกติของ colony การสร้าง fruiting body ปริมาณน้อย และ conidia ที่ผิดปกติ การศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเลคตรอนแบบส่องกราด แสดงให้เห็นผิวของ conidia และเส้นใยที่ขรุขระ และบางครั้งถูกห้อมล้อมด้วยเซลล์แบคทีเรีย จากผลการทดลองแสดงให้เห็นความสำเร็จขั้นต้นในการทดลองในสภาพห้องปฏิบัติการ (in vitro) ของการควบคุมโดยชีววิธีของโรคผลเน่าภายหลังการเก็บเกี่ยวของเงาะที่มีสาเหตุจากรา
C. gloeosporioides