บทคัดย่องานวิจัย

โรคเน่าของผลเงาะที่เกิดจากเชื้อรา Botryodiplodia theobromae Pat.

สมศิริ แสงโชติ และ อังสุมา ชยสมบัติ

รายงานการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 21 : สาขาพืช ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 31 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ 2526. หน้า 408-415 (704 หน้า)

2526

บทคัดย่อ

โรคเน่าของผลเงาะที่เกิดจากเชื้อรา Botryodiplodia theobromae Pat.   เชื้อรา Botryodiplodia theobromae Pat. เป็นสาเหตุโรคผลเน่าของเงาะ พบว่าเชื้อนี้สร้าง pycnidia ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 132-220 ไมครอน ภายใน pycnidia จะสร้าง pycnidiospore ขนาด 9.5-13.75 ´ 17.75-25 ไมครอน ระยะแรกจะมีสีใสเซลล์เดียว รูปไข่ เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและมี 2 เซลล์ เมื่อปลูกเชื้อนี้ลงบนผลเงาะที่มีความยาวขั้วผล 0, 1, 2 และ 3 ซม. ตามลำดับ พบว่าเชื้อราทำให้เกิดโรคกับผลเงาะที่ไม่มีขั้วอย่างรวดเร็ว และเมื่อเปรียบเทียบความสามารถในการทำให้เกิดโรคกับผลเงาะสีชมพูและเงาะโรงเรียน เงาะโรงเรียนจะมีความรุนแรงน้อยกว่าเงาะสีชมพู นอกจากนี้เชื้อ Botryodiplodia theobromae Pat. ยังทำให้เกิดโรคพับผลไม้ชนิดอื่นๆ ด้วยคือ น้อยหน่า ชมพู่มะเหมี่ยว กล้วยหอม มะละกอ ฝรั่งและพุทรา ในการหาวิธีการเก็บรักษาผลเงาะให้ได้นานโดยการใช้อุณหภูมิที่ 10, 15, 20, 25°ซ. และอุณหภูมิห้อง พบว่าที่ 10°ซ. ผลเงาะจะเป็นโรคน้อยที่สุด และเมื่อนำเอาผลเงาะมาใส่ในถุงพลาสติกเจาะรูและไม่เจาะรู แล้วนำไปเก็บไว้ที่ 10°ซ. พบว่ามีการเกิดโรคเพียง 2 เปอร์เซ็นต์ในเวลา 21 วัน