การออกแบบและประเมินผลเครื่องปอกเปลือกอ้อย
วัชรสิงห์ หลงแย้ม
วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.) สาขาวิชาเครื่องจักรกลเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2545. 68 หน้า.
2545
บทคัดย่อ
1. ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของลำอ้อยคั้นน้ำพันธุ์สุพรรณบุรี 50 มีค่าอยู่ระหว่าง 29 ถึง 35 มิลลิเมตร มีความหนาเปลือกเฉลี่ย 1 มิลลิเมตร แรงเฉือนสูงสุดที่ใช้ปอกเปลือกด้วยหัวมีดปอกขนาด 26 และ 28 มิลลิเมตร ที่มุมคมมีด 10 องศามีค่าเฉลี่ย 917.35 และ 913.47 นิวตัน ตามลำดับ
2. หน่วยแรงกดสูงสุดที่กระทำกับลำอ้อยตามแนวขวางบริเวณโคน กลาง และปลายลำ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 422.42393.63 และ 364.84 นิวตัน/ตารางมิลลิเมตร ตามลำดับ
3. เครื่องต้นแบบประกอบด้วย มอเตอร์ต้นกำลัง ชุดลูกกลิ้งลำเลียง และหัวมีดปอก ซึ่งชุดลูกกลิ้งลำเลียงออกแบบให้สามารถปรับความเร็วและกลับทิศทางการหมุนได้
4. การทดสอบและประเมินผลเครื่องต้นแบบพบว่า ประสิทธิภาพการป้อน เมื่อใช้หัวมีดปอกขนาด 26 และ 28 มิลลิเมตร มีค่าเฉลี่ย 86.02 และ 87.76 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เปอร์เซ็นต์การปอกเท่ากับ 96.13 และ 94.68 ตามลำดับ ความสูญเสียรวม เท่ากับ 33.80 และ 26.55 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ขนาดของหัวมีดปอกที่เหมาะสมคือ 28 มิลลิเมตร และความเร็วของลูกกลิ้งที่เหมาะสมมีค่าเท่ากับ 4 ถึง 5 เมตรต่อนาที
5. การวิเคราะห์คุณภาพน้ำอ้อยพบว่า เมื่อไม่ปอกเปลือก เมื่อปอกโดยเครื่องต้นแบบและเมื่อปอกโดยคน มีค่าเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์เท่ากับ 0.22´109 0.37´109และ 6.20 ´109 โคโลนี ตามลำดับ การปอกเปลือกโดยคนมีแนวโน้มของอายุการเก็บรักษาน้อยกว่าการปอกเปลือกด้วยวิธีอื่นๆ ค่าความหวานมีค่าอยู่ระหว่าง 20 ถึง 23 บริกซ์ และมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยตลอดอายุการเก็บรักษา