การพัฒนาเครื่องคั้นน้ำสับปะรด
ปรียพันธุ์ เอกพิทักษ์ดำรง และอดิศร ยะไชยศรี
รายงานของนักศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2538. 37 หน้า.
2538
บทคัดย่อ
ตัวแปรที่ศึกษาคือ จำนวนครั้ง และความเร็วรอบที่เหมาะสมในการคั้น ในการทดสอบพบว่า จำนวนครั้งที่เหมาะสมในการคั้นคือ 1 ครั้ง เพราะในการคั้นในครั้งที่ 2 และ 3 กากจะเละและจะติดอยู่เครื่องไม่ออกมา ทำให้เครื่องทำงานไม่สะดวก ใช้เวลานาน และผลผลิตที่ได้เพิ่มมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การทดสอบหาความเร็วรอบที่เหมาะสมพบว่า ความเร็วรอบที่เหมาะสมที่สุดในการคั้นน้ำสับปะรดด้วยเครื่องมือชุดนี้ คือ 65 รอบ/นาที และที่ความเร็วรอบนี้ผลการทดสอบโดยเฉลี่ยคือ
เปอร์เซ็นต์น้ำสับปะรด46.20%
เปอร์เซ็นต์กากสับปะรด42.43%
ความสามารถในการทำงาน22 กก./ชม.
ประสิทธิภาพของเครื่อง53.84%
จากการทดสอบทั้งหมดพบว่าเครื่องคั้นน้ำสับปะรดมีปัญหาคือ ร่องของลูกหีบลึกเกินไป ทำให้เส้นใยสับปะรดติดเครื่อง