บทคัดย่องานวิจัย

การทดสอบและประเมินผลเครื่องสีข้าวโพดรุ่น LCS 300 ใช้นวดเมล็ดทานตะวัน

ฤทธิ์ รักษา และสุดารัตน์ คำปลิว

รายงานของนักศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2536. 53 หน้า.

2536

บทคัดย่อ

การทดสอบและประเมินผลเครื่องสีข้าวโพดรุ่น LCS 300 ใช้นวดเมล็ดทานตะวัน   โครงการนี้มีจุดประสงค์เพื่อที่จะศึกษาถึงผลกระทบของตัวแปรบางตัวต่อการนวดทานตะวัน โดยใช้เครื่องกะเทาะเมล็ดข้าวโพดรุ่น LCS 300

ตัวแปรที่ศึกษาคือ ความชื้นของทานตะวันและความเร็วรอบของลูกนวด จากการทดสอบเบื้องต้นสำหรับเครื่องกะเทาะเมล็ดข้าวโพด พบว่า ขนาดรูของตะแกรงโยกใหญ่กว่าขนาดของเมล็ดทานตะวันมากทให้เศษจานดอกที่มีน้ำหนักมากกว่าเมล็ดทานตะวันร่วงหล่นลงไปด้วย ทำให้เมล็ดมีสิ่งเจือปนอยู่มากจึงต้องมีการเปลี่ยนตะแกรงโยก จากการทดสอบพบว่าเมื่อความเร็วรอบของลูกนวดเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพการนวด และเปอร์เซ็นต์การแตกหักจะสูงขึ้นด้วย ส่วนความสามารถในการนวดและปริมาณภาพการนวดไม่หมดลดลง ส่วนความชื้นที่เหมาะสมในการนวดเมล็ดทานตะวัน คือความชื้นที่ตากแดด 1-2 แดด หลังจากเก็บเกี่ยว (ความชื้นเมล็ด 7.78% ความชื้นจานดอก 12.65%) และช่วงความเร็วรอบที่เหมาะสมในการนวดเมล็ดทานตะวัน 1900-2100 รอบ/นาที (ความเร็ว 9.94-10.99 เมตร/วินาที) ที่ปริมาณการป้อน 1000 กรัม ซึ่งให้สมรรถนะดังนี้ (ใช้นวดทานตะวันพันธุ์ไฮชัน 33) ที่ความเร็วรอบ 2100 รอบ/นาที (10.99 เมตร/นาที)

เปอร์เซ็นต์นวดไม่หมด1.01 เปอร์เซ็นต์

เปอร์เซ็นต์แตกหัก0.81 เปอร์เซ็นต์

เปอร์เซ็นต์ความสะอาด96.42 เปอร์เซ็นต์

ประสิทธิภาพในการนวด98.99 เปอร์เซ็นต์