บทคัดย่องานวิจัย

เครื่องกะเทาะกระบก

ธนากร อ่อนตาม และวรกุล บุญทักษ์

รายงานของนักศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2541. 47 หน้า.

2541

บทคัดย่อ

เครื่องกะเทาะกระบก  โครงการนี้เป็นการพัฒนาเครื่องกะเทาะกระบกขึ้นมาใช้งาน โดยอาศัยหลักการกระทบของวัตถุ และได้ทำการเปรียบเทียบการทำงานของเครื่องกะเทาะกระบกที่พัฒนาขึ้นกับเครื่องกะเทาะมะม่วงหิมพานต์ที่ได้นำมาปรับปรุงกะเทาะกระบก มีดและฆ้อน ค่าที่จะบอกถึงระดับความสามารถของเครื่องมือ คือเปอร์เซ็นต์ของเมล็ดในเต็มที่สูง และเปอร์เซ็นต์ของเมล็ดแตกหักต่ำ การทดสอบนี้ได้นำกระบกมาทดสอบ 2 ชนิด ชนิดแรกฝังตัวในดิน 2 เดือน ชนิดที่ 2 ฝังตัวในดิน 3 เดือน ได้ผลดังนี้

1. เปอร์เซ็นต์กะเทาะ (โดยน้ำหนัก) ของกระบกชนิดที่ 2 สูงกว่าชนิดที่ 1 และมีดเป็นอุปกรณ์ที่มีเปอร์เซ็นต์กะเทาะสูงที่สุด : 100%

2. เปอร์เซ็นต์เมล็ดในเต็มของการกะเทาะกระบกทั้ง 2 ชนิด โดยใช้อุปกรณ์กะเทาะ 4 ชนิด มีค่าใกล้เคียงกัน สำหรับแต่ละอุปกรณ์เครื่องกะเทาะมะม่วงหิมพานต์ที่ปรับปรุงขึ้นสามารกะเทาะได้เมล็ดในเต็มสูงที่สุด : 93.86%

3. อัตราการทำงานเฉลี่ยของการกะเทาะกระบกชนิดที่ 2 สูงกว่ากระบกชนิดที่ 1 และเครื่องกะเทาะกระบกที่พัฒนาขึ้นมีอัตราการทำงานสูงสุด คือ 13 เมล็ดต่อนาที

4. เปอร์เซ็นต์การแตกหักโดยใช้เครื่องกะเทาะกระบกที่พัฒนาขึ้นต่ำที่สุด : 0.77%

จากค่าชี้ผลที่แสดงนี้จะเห็นว่าการพัฒนาเครื่องกะเทาะกระบก ถือว่ามีประสิทธิภาพการกะเทาะอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เพราะมีอัตราการทำงานสูงและมีเปอร์เซ็นต์การแตกหักต่ำ