การอบแห้งพริกโดยใช้โปรดิวเซอร์แก๊สจากเตาผลิตแก๊สแบบไหลขึ้น
จงจิตร์ หิรัญลาภ ชนากานต์ อาษาสุจริต และโจเซฟ เคดารี
วิศวกรรมสาร ฉบับวิจัยและพัฒนา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปภัมภ์, ปีที่ 10, ฉบับที่ 1, หน้า 68-77.
2542
บทคัดย่อ
การอบแห้ง และอัตราการไหลของอากาศ
เมื่อทำการอบแห้งพริกชี้ฟ้าแดงที่มีการผ่านำเมล็ดออกโดยใช้เครื่องอบแห้งพลังงานความร้อนจากโปรดิวเซอร์แก๊ส พบว่า สภาวะการอบแห้งที่เหมาะสมคือ อัตราการไหลของอากาศ 0.082 kg/s อุณหภูมิในห้องอบแห้งโดยเฉลี่ย 63 °C อบแห้งพริกชี้ฟ้าแดงสด ปริมาณ 17.2 kg ที่ความชื้นเริ่มต้นร้อยละ 86 มาตรฐานเปียก จนกระทั่งความชื้นสุดท้ายลดลงเหลือประมาณร้อยละ 15 มาตรฐานเปียก การอบแห้งนี้เป็นการอบแห้งแบต่อเนื่อง และเวลาที่ใช้ในการอบแห้งทั้งหมด 19 ชั่วโมง
เมื่อศึกาถึงประสิทธิภาพและความสิ้นเปลืองพลังงานความร้อนที่ใช้ในการอบแห้ง พบว่าประสิทธิภาพทางความร้อนของระบบอบแห้ง พิจารณาจากพลังงานความร้อนจากโปรดิวเซอร์ แก๊สแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ เครื่องผลิตโปรดิวเซอร์แก๊ส เตา และอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนและเครื่องอบแห้ง มีประสิทธิภาพตามลำดับดังนี้คือ 48.9%, 7.0% และ 9.2% พลังงานความร้อนทั้งหมดที่ใช้ในการอบแห้งพริกชี้ฟ้าแดง 17.2 kg.คิดเป็น 33.5 MJ/kg H2O evap. ซึ่งมีการใช้พลังงานความร้อนโดยแยกตามแหล่งพลังงานต่างๆ คือ พลังงานความร้อนจากโปรดิวเซอร์ แก๊ส 24 MJ/kg H2O evap. และพลังงานที่ได้จากมอเตอร์ของพัดลมเป่าอากาศ 9.5 MJ/kg H2O evap. คิดเป็น 71.6% และ 28.4% ของพลังงานที่สิ้นเปลืองทั้งหมดตามลำดับ โดยมีต้นทุนที่ใช้ในการระเหยน้ำ 1 kg ออกจากพริกชี้ฟ้าแดงของเครื่องอบแห้งนี้มีค่า 54.3 Baht/kg H2O evap. เมื่อกำหนดอายุการใช้งานของเครื่องอบแห้ง 10 ปี