บทคัดย่องานวิจัย

ผลของการเสริม b–adrenergic agonist (Salbutamol) ในอาหารสุกรขุนและระยะงดใช้ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต คุณภาพซาก และระดับการตกค้างของสารในเนื้อเยื่อ

ชูพงษ์ อรัญชิต

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, (สัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2539. 100 หน้า.

2539

บทคัดย่อ

ผลของการเสริม b–adrenergic agonist (Salbutam) ในอาหารสุกรขุน และระยะงดใช้ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต คุณภาพซาก และระดับการตกค้างของสารในเนื้อเยื่อ  การทดลองในครั้งนี้มุ่งศึกษาถึงผลของระดับโปรตีนในอาหาร และระดับ salbutamolต่ออัตราการเจริญเติบโต ประสิทธิภาพการใช้อาหารและลักษณะคุณภาพซากสุกรขุน ระหว่างน้ำหนัก 68-95 กก. โดยระดับโปรตีนในอาหารแบ่ง ออกเป็น 3 ระดับ คือ 16-15,15-14 และ14-13% ในช่วงน้ำหนัก 68-80 และ 80-95 กก.ตามลำดับ ส่วนระดับ salbutamol ในอาหารแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ 0,3 และ 6 มก./กก. ของอาหาร และผลของระยะเวลาการเลิกใช้ salbutamol ที่ระยะเวลา 0,3 และ 7 วัน ต่อพื้นที่หน้าตัดเนื้อสันและความหนาไขมันสันหลังเฉลี่ย รวมทั้งปริมาณการตกค้างในพลาสมา ตับ ไต ไขมัน และเนื้อแดง จากผลการทดลองพบว่าระดับโปรตีน ในอาหารไม่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพ การใช้อาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ระดับ salbutamol ในอาหารที่ระดับ 3 และ6 ppm มีผลทำให้อัตราการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหาร (feed/gain) ดีกว่ากลุ่มควบคุม (0 ppm) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ที่ 0.645, 0.664 vs 0.545 กิโลกรัมต่อวัน และ 3.18, 3.31 vs 3.82 ตามลำดับ (p>0.05) อิทธพลของระดับโปรตีนในสูตรอาหารไม่มีผลต่อปริมาณพื้นที่หน้าตัดเนื้อสันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) แต่มีความแตกต่างของความหนาไขมัน สันหลังโดยเฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คือ กลุ่มที่ได้รับอาหารโปรตีนระดับ 16-15 % มีความหนาไขมัน สันหลังต่ำสุด คือ 2.30 ซม. เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับอาหารโปรตีนระดับ 15-14 และ 14-13 % คือ 3.00 ซม. และ 2.56 ซม. ตามลำดับ ระดับ salbutamol ในอาหารไม่มีผลต่อความแตกต่างของพื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน (p>0.05) แต่มีแนวโน้มว่าเมื่อระดับ salbutamol ในอาหารเพิ่มขึ้น (0, 3 และ 6 ppm) ทำให้พื้นที่หน้าตัดเนื้อสันเพิ่มขึ้นในทางเดียวกัน คือ 30.733, 34.424 และ 36.707 ตารางเซนติเมตรตามลำดับ การเสริม salbutamol จากระดับ 0 เป็น 3 ppm ไม่ทำให้ความหนาไขมันสันหลังลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) คือ ลดลงจาก 2.95 เป็น 2.52 ซม. แต่หากเสริม salbutamol ขึ้นถึงระดับ 6 ppm มีผลทำให้ความหนาไขมันสันหลังลดลงต่ำกว่าระดับ 0 ppm อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ลดจาก 2.95 เป็น 2.41 ซม. ตามลำดับ ระยะเวลาการงดใช้ salbutamol ไม่ทำให้พื้นที่หน้าตัดเนื้อสันและความหนาไขมันสันหลังเฉลี่ยของสุกรเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ในด้านปริมาณการตกค้างของ salbutamol ในพลาสมาที่ระดับ salbutamol 6 และ 3 ppm ในอาหาร พบปริมาณ salbutamol ที่ 94.45 และ 60.32 ng/ml ตามลำดับ เมื่องดให้ salbutamol เป็นระยะเวลา 1 วัน พบระดับของ salbutamol ในพลาสมาลดลงเป็น 14.13 และ 20.31 ng/ml ตามลำดับ เมื่องดให้ salbutamol เป็นระยะเวลา 2-7 วัน พบปริมาณของ salbutamol ในพลาสมาต่ำกว่า 5 ng/ml ส่วนปริมาณการตกค้างของ salbutamol 6 และ 3 ppm ในอาหาร พบปริมาณ salbutamol ที่ระดับ 2,210 และ 2,236 ng/ml เมื่องดใช้ salbutamol ที่ 3 และ 7 วัน พบปริมาณการตกค้างลดลงเหลือ 1,783 vs1,757 และ 1,679 vs1,453 ng/ml ตามลำดับ ปริมาณการตกค้างของ salbutamol ในไตที่ระดับ salbutamol 6 และ 3 ppm ในอาหาร พบปริมาณ salbutamol ที่ระดับ 1,000.3 และ 1,070.2 ng/g เมื่องดใช้salbutamol ที่ 3 และ 7 วัน พบปริมาณการตกค้างลดลงเป็น 363.9 vs 361.6 และ 329.5 vs 329.5 vs 375.2 ng/g ตามลำดับ ส่วนปริมาณการตกค้างของ salbutamol ในเนื้อและไขมันของสุกรมีปริมาณต่ำกว่า 10 ng/g