บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาการนำเข้ากุ้งสดแช่แข็งของประเทศสาธารรัฐประชาชนจีนจากไทย

ชลทรัพย์ คิดรังสรรค์

วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 135 หน้า

2545

บทคัดย่อ

การศึกษาการนำเข้ากุ้งสดแช่แข็งของประเทศสาธารรัฐประชาชนจีนจากไทย  การส่งออกกุ้งสดแช่แข็งของไทยสร้างรายได้ให้กับประเทศในแต่ละปีได้เป็นจำนวนมากโดยตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกาญี่ปุ่น และจีนถึงแม้จีนจะเป็นตลาดส่งออกกุ้งสดแช่แข็งอันดับที่ 8 ของไทยในปี พ.ศ. 2544 แต่ในการดำเนินการเพื่อเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของจีน จีนได้ตกลงที่จะลดอัตราภาษีนำเข้ากุ้งสดแช่แข็ง ให้แก่ไทยจากอัตราร้อยละ 30 เหลืออัตราร้อยละ 10 ภายในปี พ.ศ. 2547 ซึ่งจะส่งผลให้การนำเข้ากุ้งสดแช่แข็งของจีนจากไทยมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การศึกษาในครั้งนี้จึงได้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาลักษณะอุตสาหกรรมกุ้งสดแช่แข็งทั้งในด้านการผลิตและด้านการตลาด ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการนำเข้ากุ้งสดแช่แข็งของจีน และคำนวณค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคานำเข้ากุ้งสดแช่แข็งของจีนจากไทย และอินเดีย และศึกษาผลจากการลดอัตราภาษีนำเข้ากุ้งสดแช่แข็งของจีนที่มีต่อมูลค่าการนำเข้ากุ้งสดแช่แข็งจากไทยและอินเดีย

จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อปริมาณการนำเข้ากุ้งสดแช่แข็งของจีนจากไทย คือ ปัจจัยราคานำเข้ากุ้งสดแช่แข็งของจีนจากอินเดีย ปัจจัยราคานำเข้ากุ้งสดแช่แข็งของจีนจากไทย และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเฉลี่ยต่อหัวของจีน โดยมีค่าความยืดหยุ่นเท่ากับ 3.89 3.81 และ 1.02 ตามลำดับและปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อปริมาณการนำเข้ากุ้งสดแช่แข็งของจีนจากอินเดีย คือปัจจัย ราคานำเข้ากุ้งสดแช่แข็งของจีนจากอินเดีย ปัจจัยราคานำเข้ากุ้งสดแช่แข็งของจีนจากไทย และ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเฉลี่ยต่อหัวของจีน โดยมีค่าความยืดหยุ่นเท่ากับ 4.381.53 และ 0.69 ตามลำดับ สำหรับผลการศึกษาผลจากการลดอัตราภาษีนำเข้ากุ้งสดแช่แข็งของจีนที่มีต่อมูลค่าการนำเข้ากุ้งสดแช่แข็งจากไทยและอินเดีย พบว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 – 2547 มูลค่าการนำเข้ากุ้งสดแช่แข็งของจีนจากไทย เท่ากับ 8.9818.57และ 46.13 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2544 ที่มีมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 5.16 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนมูลค่าการนำเข้ากุ้งสดแช่แข็งของจีนจากอินเดีย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 – 2547 เท่ากับ 44.6499.47 และ 269.13 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯตามลำดับ เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2544 ที่มีมูลค่าเท่ากับ 24.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้เนื่องมาจากความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคานำเข้ากุ้งสดแช่แข็งของจีนจากไทยและอินเดียมีค่าความยืดหยุ่นสูง