การพัฒนาเครื่องมือลดสิ่งปนเปื้อนในหอยแครง (Anadara granosa) มีชีวิตด้วยแสงอัตราไวโอเลต
สุเมธ สุพิชญางกูร
วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 155 หน้า.
2541
บทคัดย่อ
ระบบการทำงานและอุปกรณ์ทุกส่วนของเครื่องมือลดสิ่งปนเปื้อนในหอยแครงมีชีวิตได้ถูกออกแบบให้มีขนาดและประสิทธิภาพการทำงานอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกันทั้งระบบ สำหรับการลดสิ่งปนเปื้อนในหอยแครงมีชีวิต เพื่อให้ร้านจำหน่ายอาหารทะเลนำไปใช้ได้
จากการใช้เครื่องมือที่ออกแบบและสร้างไว้แล้วทดลองหาระดับที่เหมาะสมของ 3 ปัจจัยในการพัฒนากรรมวิธีการล้างหอยแครงคือ ความหนาแน่นของหอยแครง ความเค็มและอัตราการไหลวนของน้ำทะเล โดยการวัดคุณภาพด้านความปลอดภัย ความสะอาดและความสดของหอยแครงที่ล้าง ณ เวลา 06122436ชม. ผลปรากฏว่า ระดับปัจจัยความหนาแน่นที่ 53.42 กก/ตร.ม. ความเค็มที่ 25 ppt. และอัตราการไหลที่ 20 ลิตร / นาที เป็นระดับที่เหมาะสม คือด้านความปลอดภัยสามารถลด Aerobic plant countจาก 2.07x105 เหลือ 3.07 x103 cfu/g และไม่พบเชื้อ Coliforms , Faecal coliforms และ E. coli ด้านความสะอาดหลังล้างจะไม่พบดินโคลนทราย คือ สามารถเพิ่มคะแนนความสะอาดจาก 1.97 – 2.35 เป็น 4.37 – 4.40 จากคะแนนเต็ม 5 และด้านความสดยังสดใกล้เคียงกับวัตถุดิบก่อนล้าง(ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ p<0.05) ด้วยการใช้เวลาสำหรับการล้างหอยแครงเพียง 12 ชม.
เครื่องมือที่พัฒนาแล้วและรายละเอียดของเครื่องมือฯ ในด้านรูปร่างลักษณะ ขนาด วิธีการใช้งาน วิธีการบำรุงรักษาและราคา ถูกนำมาใช้สำหรับการทดสอบการยอมรับกับร้านที่จำหน่ายอาหารทะเล(ผู้ใช้) ด้วยการจัดสัมมนาเชิงสาธิต 1 วัน ผลปรากฏว่ามีผู้เข้าร่วมสัมมนา 19 คนจากเป้าหมายที่กำหนดไว้ 30 คน ทุกคนยอมรับในประสิทธิภาพการทำความสะอาดหอยแครงของเครื่องมือนี้รวมทั้งด้านขนาด รูปร่างลักษณะ การใช้งานและการดูแลรักษาเครื่องมือนี้ ยอมรับว่าเหมาะสมใช้งานได้ ไม่ยุ่งยาก แต่การจะซื้อไปใช้จริงในสถานประกอบการยังไม่แน่ใจในการลงทุนและปัจจุบันหอยแครงยังคงขายได้แม้ไม่ผ่านการล้างจากเครื่องมือล้างหอย