บทคัดย่องานวิจัย

การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจการส่งออกผลิตภัณฑ์ปลาหมึกของประเทศไทย

สุจิตรา บัวแช่ม

วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เศรษฐศาสตร์เกษตร)) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2532. 82 หน้า.

2532

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจการส่งออกผลิตภัณฑ์ปลาหมึกของประเทศไทย อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ปลาหมึกแปรรูป เป็นอุตสาหกรรมการแปรรูปสัตว์น้ำที่ได้รับ การส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการแปรรูป เพื่อการส่งออกเนื่องจากมีความเอื้ออำนวยทั้งด้านแรงงานและเทคโนโลยีในการผลิต การส่งออกผลิตภัณฑ์ปลาหมึกของไทยได้ขยายตัวขึ้นอย่างมากในช่วงพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 และ 5 โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาหมึกแช่แข็งมีปริมาณและมูลค่าในการส่งออกมากยิ่งกว่าปลาหมึกแปรรูปชนิดอื่นๆ และสามารถนำมาซึ่งรายได้เข้าประเทศปีหนึ่งๆ เป็นจำนวนสูงถึง 3,797 ล้านบาท ในปี 2539 ย่างไรก็ตามการส่งออกปลาหมึกแช่แข็งนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับสภาพตลาด การแข่งขันกับประเทศผู้ส่งออกอื่นๆ และนโยบายคุ้มครองผู้ผลิตภายในประเทศของผู้นำเข้า ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการผลิตและการตลาด วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงส่วนแบ่งตลาดและวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่ออุปสงค์ส่งออกปลาหมึกแช่แข็งของไทยในประเทศลุกค้าที่สำคัญ เพื่อเสนอแนวทางในการขยายการส่งออก

ผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงส่วนแบ่งตลาดในช่วงระหว่างปี 2520 – 2524 และปี 2525 – 2529 ผลการเปลี่ยนแปลงส่วนแบ่งตลาดปลาหมึกกระดองและปลาหมึกกล้วยแช่แข็งของ ไทย เกาหลี สเปน และมอรอคโค ในตลาดญี่ปุ่น คือ ผลที่เกิดขึ้นจากการขยายตลาดของไทย เกาหลีใต้สเปน และมอรอคโค มีค่าเท่ากับร้อยละ -226.19, -32.36ม -25.42 และ -11.26 ของผลการเปลี่ยนแปลงส่วนแบ่งตลาดทั้งหมดตามลำดับ ส่วนผลที่เกิดจากการแข่งขันในตลาดญี่ปุ่นของไทย เกาหลีใต้ สเปน และมอรอคโค มีค่าเท่ากับร้อยละ 326.19, -67.64, -74.58 และ 111.26 ของผลการเปลี่ยนแปลงส่วนแบ่งตลาดทั้งหมดตามลำดับ ผลการเปลี่ยนแปลงส่วนการแบ่งตลาดปลาหมึกสายแช่แข็งของไทย สเปน เกาหลีใต้ มอรอคโค และเมอริตาเนียในตลาดญี่ปุ่น คือ ผลที่เกิดจากการขยายตลาดของไทย สเปน เกาหลีใต้ มอรอคโค และเมอริตาเนียมีค่าเท่ากับร้อยละ 234.98, 172.86, 9,766.22, 11.91 และ 10.51 ของผลการเปลี่ยนแปลงส่วนแบ่งตลาดทั้งหมดตามลำดับ ส่วนผลที่เกิดขึ้นจากการแข่งขันในตลาดญี่ปุ่น สเปน เกาหลีใต้ มอรอคโค และเมอริตาเนียมีค่าเท่ากับร้อยละ -134.98, -272.86, -9,866.22, 88.09 และ 89.49 ของผลการเปลี่ยนแปลงส่วนแบ่งตลาดทั้งหมดตามลำดับ

ผลการวิเคราะห์อุปสงค์นำเข้าปลาหมึกกระดองและปลาหมึกกล้วยแช่แข็งของญี่ปุ่นจากไทย โดยใช้ข้อมูลในช่วงปี 2513-2529 ปรากฏว่า ราคานำเข้าปลาหมึกกระดองและปลาหมึกกล้วยแช่แข็งของเกาหลีใต้ในญี่ปุ่นและรายได้ประชาชาติต่อจำนวนประชาการของญี่ปุ่นเป็นตัวแปรสำคัญที่กำหนดอุปสงค์นำเข้าโดยที่ความยืดหยุ่นของอุปสงค์นำเข้าอันเนื่องมาจากตัวแปรทั้ง 2 นี้ ที่ระดับค่าเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 1.4247 และ 3.1796 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์อุปสงค์นำเข้าปลาหมึกสายแช่แข็งของญี่ปุ่นจากไทยปรากฏว่า ราคานำเข้าปลาหมึกสายแช่แข็งของไทยในญี่ปุ่น และราคานำเข้าปลาหมึกสายแช่แข็งของสเปนในญี่ปุ่นเป็นตัวแปรสำคัญที่กำหนดอุปสงค์ส่งออก โดยที่ความยืดหยุ่นของอุปสงค์นำเข้าอันเนื่องมาจากตัวแปรทั้ง 2 นี้ ที่ระดับค่าเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ -2.1709 และ 0.7650 ตามลำดับ

ข้อเสนอแนะของการศึกษาคือ การส่งออกปลาหมึกกระดองและปลาหมึกกล้วยแช่แข็งของไทยในตลาดญี่ปุ่นไม่ควรนำนโยบายราคามาใช้ เพราะราคาส่งออกปลาหมึกชนิดนี้ของไทยไม่ใช้ตัวแปรที่สำคัญในการกำหนดอุปสงค์ส่งออก ควรเน้นด้านนโยบายราคามาใช้เพราะราคาส่งออกปลาหมึกชนิดนี้ของไทยไม่ใช่ตัวแปรที่สำคัญในการกำหนดอุปสงค์ส่งออก ควรเน้นด้านนโยบายพัฒนาคุณภาพ ศึกษาพฤติกรรมการส่งออกของคู่แข่งขัน และควรเน้นนโยบายการวางแผนการส่งออกให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ส่วนการออกปลาหมึกสายแช่แข็งของไทยในตลาดญี่ปุ่นควรใช้นโยบายลดราคาโดยพยายามลดต้นทุนการผลิตและการส่งออก ตลอดจนปรับปรุงเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น