การพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อจระเข้ปรุงรสและการเก็บรักษา
สินี หนองเต่าดำ
วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ผลิตภัณฑ์ประมง) สาขาวิชาผลิตภัณฑ์ประมง ภาควิชาผลิตภัณฑ์ประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 81 หน้า.
2544
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อจระเข้ปรุงรสและการเก็บรักษา
องค์ประกอบทางเคมีของเนื้อจระเข้พันธุ์น้ำจืด (
Crocodylus siamensis) ส่วนหางมีปริมาณความชื้นร้อยละ 72.34 โปรตีนร้อยละ 20.21 ไขมันร้อยละ 5.51 เถ้าร้อยละ 1.05 โคเรสเตอรอล 62.10 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม องค์ประกอบของไขมันที่พบมาก ได้แก่ กรดสเทียริกกรดปาล์มมิติกกรดไลโนเลอิกและกรดโอเลอิกร้อยละ 37.96, 27.64. 14.88 และ 11.03 ตามลำดับปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมด 1.48 ´ 10
6 โคโรนีต่อกรัม ไม่พบ
Salmonella sp. เมื่อนำเนื้อจระเข้มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อจระเข้ปรุงรส ปริมาณเครื่องปรุงที่ได้รับการยอมรับสูงสุดจากผู้ทดสอบ ได้แก่ ซอสปรุงรสร้อยละ 8น้ำตาลทรายร้อยละ 6.5พริกไทยป่นร้อยละ 2.5และงาขาวร้อยละ3สภาวะการผลิตที่เหมาะสม คือ อบแห้งที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ระยะเวลานาน 2 ชั่วโมง ทอดก่อนการบริโภคที่อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส นาน 1 นาที ค่าแรงเฉือนของผลิตภัณฑ์เนื้อจระเข้ปรุงปรุงรส 25.78 นิวตัน ค่าสี L*a*b*เท่ากับ 41.53, 5.27และ 9.36ตามลำดับค่า a
w 0.63 องค์ประกอบทางเคมีประกอบด้วยปริมาณความชื้นร้อยละ 13.86 โปรตีนร้อยละ 48.23ไขมันร้อยละ 14.72เถ้าร้อยละ 5.27โคเรสเตอรอล 113.78 มิลิลกรัมต่อ 100 กรัมองค์ประกอบของกรดไขมันที่พบมาก ได้แก่กรดสเตียริกกรดปาล์มมิติกกรดไลโนเลอิกและกรดโอเลอิกร้อยละ 26.34, 21.54, 21.88 และ 14.89 ตามลำดับ ไม่พบปริมาณจุลินทรีย์ทั้งหมดและ
Salmonella sp. ในผลิตภัณฑ์ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดกลิ่นหืนกับค่า TBA พบว่า สามารถรับรู้กลิ่นหืนได้ เมื่อค่า TBA เท่ากับ 2.50 มิลลิกรัมมาลอนอัลดีไฮด์ต่อกิโลกรัม ศึกษาอายุการเก็บผลิตภัณฑ์ 4 สภาวะบรรจุ ได้แก่สภาพบรรยากาศปกติสภาพบรรยากาศปกติร่วมกับสารดูดความชื้นสภาพปรับบรรยากาศด้วยก๊าซไนโตรเจน และสภาพบรรยากาศปกติร่วมกับสารดูดซับออกซิเจน เก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง (32 ± 2 องศาเซลเซียส) พบว่า เมื่อพิจารณาจากค่า TBA ผลิตภัณฑ์จะมีอายุการเก็บรักษานาน 7, 9, 13 และ 14 สัปดาห์ ตามลำดับ