การพัฒนากรรมวิธีการอบแห้งแครอทและเนื้อไก่ โดยอบแห้งแบบลมร้อนกับการใช้ความร้อนด้วยคลื่นไมโครเวฟ
อัศวิน ชินธรรมมิตร์
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การอาหาร) สาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 154 หน้า.
2546
บทคัดย่อ
การอบแห้งเนื้ออกไก่แบบลมร้อนที่อุณหภูมิ 60 70 และ 80 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 7 5.5 และ3.5 ชั่วโมง ตามลำดับ อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 80 องศาเซลเซียส ซึ่งให้เนื้ออกไก่ที่มีค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ไม่แตกต่างกัน และค่าความแน่นเนื้อของเนื้ออกไก่คืนรูปที่ 10 และ 20 นาที ต่ำที่สุด คือ 157.77 และ 144.83 นิวตัน การลวกด้วยไมโครเวฟที่ 4 วัตต์/กรัม เป็นเวลา 4 นาที ก่อนการอบแห้งเป็นสภาวะที่ดีที่สุด เนื่องจากให้ค่าอัตราส่วนการดูดน้ำคือของเนื้ออกไก่แห้งที่ 2 6 10 15 และ 20 นาที สูงที่สุด คือ 1.54 1.70 1.79 1.80 และ 1.81 ตามลำดับ และค่าความแน่นเนื้อของเนื้ออกไก่คืนรูปที่ 2 6 10 15 และ 20 นาที ต่ำที่สุด คือ 214.58 172.12 151.77 141.29 และ 128.06 นิวตัน ตามลำดับ หลังจากนั้นอบแห้งเนื้ออกไก่ด้วยลมร้อนเป็นเวลา 1 1.5 และ 2 ชั่วโมง แล้วต่อด้วยการให้ความร้อนด้วยไมโครเวฟที่ 80 240 และ 400 วัตต์ พบว่าการอบแห้งเป็นเวลา 1 ชั่วโมง และให้ความร้อนต่อด้วยคลื่นไมโครเวฟที่ 400 วัตต์ เป็นเวลา 3 นาที ให้เนื้ออกไก่แห้งสีน้ำตาลเข้มร้อยละ 96.28 และสีน้ำตาลอ่อนร้อยละ 3.72 โดยเนื้อออกไก่สีน้ำตาลเข้มมีค่าวอเตอร์แอคติวิตี้ คือ 0.40 ค่าอัตราส่วนการคืนรูปที่ 2 นาที สูงที่สุด 1.68 และค่าความแน่นเนื้อคืนรูปที่ 2 นาที ต่ำที่สุด 150.41 นิวตัน และการใช้ไมโครเวฟหลังจากการอบแห้งด้วยลมร้อนสามารถลดเวลาในการอบแห้งลงจากเดิม 3.5 ชั่วโมง เหลือเพียง 1 ชั่วโมง 3 นาที และเมื่อส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอนแบบส่องกราด พบว่า เนื้ออกไก่แห้งเกิดช่องว่างระหว่างไมโอไฟบริล (myofibril) มากกว่าตัวอย่างที่อบแห้งแบบลมร้อนอย่างเดียว