การวิเคราะห์แบบแผนค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคเนื้อสัตว์ของครัวเรือนในประเทศไทย พ.ศ. 2537 และพ.ศ. 2541
ชุลีพร ผุดผ่อง
วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์เกษตร) สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 110 หน้า.
2544
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อแบบแผนค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคเนื้อสัตว์ และประมาณค่าสัมประสิทธิ์ความยืดหยุ่นของการบริโภคเนื้อสัตว์ต่อรายได้ของครัวเรือนเปรียบเทียบระหว่างสภาวะเศรษฐกิจปกติ และหลังเกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำโดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจสภาะวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนปี พ.ศ. 2537 และปี พ.ศ. 2541 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ทำกาวิเคราะห์โดยใช้ระบบสมการ AIDS(Almost Ideal Demand System) โดยใช้แบบจำลองในรูปสมการ Engel curve โดยวิธี OLS เน้นศึกษาเฉพาะเนื้อหมู เนื้อไก่ และเนื้อวัว
จากการศึกษาพบว่า แบบแผนค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคเนื้อสัตว์ของครัวเรือนแตกต่างกันออกไปตามลักษณะชุมชน ภูมิภาค เพศ อายุ ระดับการศึกษาและอาชีพของหัวหน้าครอบครัว จากการเปรียบเทียบแบบแผนค่าใช้จ่ายเพื่อบริโภคเนื้อสัตว์ของครัวเรือนในช่วงก่อน ค่าใช้จ่ายเพื่อบริโภคเนื้อสัตว์ต่ออาหารทั้งหมดและค่าความยืดหยุ่นของค่าใช้จ่ายต่อราคาได้สูงกว่าในช่วงเศรษฐกิจปกติ และจากการศึกษาพบว่า ครัวเรือนในเขตชนบทมีการตอบสนอง ของค่าใช้จ่ายต่อรายได้เพื่อบริโภคเนื้อสัตว์สูงกว่าครัวเรือนในเขตเมือง