การเกรดซากและการคาดคะเนเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงของซากสุกรขุน
นันทนา นิรมิตเจียรพันธุ์
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เกษตรศาสตร์)) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , กรุงเทพฯ. 2531. 81 หน้า.
2531
บทคัดย่อ
ก.กรณีมีการตัดซากผ่านแนวซี่โครงระหว่างซี่ที่ 10 และ 11
เปอร์เซ็นต์เนื้อแดงรวมสี่ส่วน=40.02 – 0.33 (น้ำหนักซากเย็น, กก.) – 1.31(ความลึกไขมัน, ซม) + 0.13 (พื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน, ตร.ซม.) + 4.04 (น้ำหนักสะโพก, กก.)
ข.กรณีที่ไม่ตัดซากผ่านแนวซี่โครง
เปอร์เซ็นต์เนื้อแดงรวมสี่ส่วน= 44.63 – 0.31 (น้ำหนักซากสด, กก.) – 2.13(ค่าเฉลี่ยความหนาไขมันสันหลัง, ซม) + 4.40 (น้ำหนักสะโพก, กก.)
สำหรับสภาวะของประเทศไทยในปัจจุบัน สมการ ข ซึ่งประกอบด้วย น้ำหนักซากสด ค่าเฉลี่ยความหนาไขมันสันหลัง และน้ำหนักสะโพก เหมาะสมในการใช้คาดคะเนมากกว่าเนื่องจากสมการ ก ต้องทำการตัดซากผ่านกล้ามเนื้อสันนอกตรงซี่โครงที่ 10 อาจมีปัญหาต่อการซื้อขายซากสุกรในรูปชิ้นส่วนใหญ่ ซึ่งจะซื้อขายกันในรูปกล้ามเนื้อสันนอกทั้งเส้น
ผลการเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงรวมสี่เส้นจากการตัดแต่งจริง และจากการใช้สมการคาดคะเนเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงโดยชัยณรงค์ (2530) ซึ่งคาดคะเนจากน้ำหนักซากสดความลึกไขมันและพื้นที่หน้าตัดเนื้อสันผลปรากฏว่าเปอร์เซ็นต์เนื้อแดงรวมสี่ส่วนระหว่าง 2 กลุ่มแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง โดยมีค่าเฉลี่ย 43.05 และ 55.79 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ