การวิเคราะห์ความต้องการในการบริโภคเนื้อโคและกระบือในประเทศไทย
มนัส วณิชชานันท์
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เศรษฐศาสตร์)) ภาควิชาเศรษฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2521. 150 หน้า.
2521
บทคัดย่อ
-ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมในการบริโภคเนื้อโคและกระบือ
-ประมาณการขนาดของความต้องการในการบริโภคเนื้อโคและกระบือในช่วงระยะเวลา 12 ปีข้างหน้า(ปี 2520-2531)
-เพื่อให้การศึกษาครั้งนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จะทำการประมาณการปริมาณการผลิตโคและกระบือในระยะ 12 ปี ข้างหน้าด้วย
วิธีการที่จะใช้ในการศึกษาและวิจัยนั้น จะสร้างแบบจำลองสมการที่อยู่ภายใต้ข้อสมมติพื้นฐานทางเศรษฐกิจบางประการ โดยกำหนดให้ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ไม่อยู่ใบแบบจำลองสมการคงที่ ส่วนวิธีการคำนวณหาค่าต่างๆ ของcoefficients ในแบบจำลองสมการ จะอาศัยวิธีการทางเศรษฐมิติในรูป Least Square Method
ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเป็นข้อมูลทุติยภูมิที่หน่วยราชการต่างๆ รวบรวมสถิติไว้แล้ว แต่ในการวิเคราะห์ปรากฏว่า มีปัญหาเกี่ยวกับความไม่สมบูรณ์ของข้อมูลด้านปริมาณการบริโภค เนื้อโคและกระบือ กล่าวคือ ข้อมูลที่มีอยู่แล้วนั้นเป็นจำนวนโคและกระบือที่ฆ่าเป็นอาหาร ซึ่งเป็นรายงานการฆ่าตามใบอาชญาบัตร แต่ตามข้อเท็จแล้วปรากฏว่า มีการลักลอบฆ่าเถื่อนกันเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องศึกษาหาตัวประกอบการแก้ไข (correction factor) เพื่อนำไปปรับจำนวนที่ฆ่าตามใบอาชญาบัตร ซึ่งจะทำให้ได้ปริมาณที่ฆ่าใกล้เคียงกับปริมาณที่บริโภคยิ่งขึ้น และเนื่องจากระบบการตลาดและการบริโภคเนื้อโคและกระบือไม่ได้แยกออกจากกันโดยเด็ดขาด ฉนั้นจึงทำการวิเคราะห์การบริโภคเนื้อโคและเนื้อกระบือรวมกันไป
ผลจากการวิเคราะห์ ปรากฏว่า ในระยะเวลา 12 ปีข้างหน้า (2520-2531) ความ
ต้องการบริโภคเนื้อโคกระบือภายในประเทศเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยปีละ 8.55 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยเพียงปีละ 3.02 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ถ้ายังไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายเดิมได้ไม่พอเพียงกับความต้องการในอนาคต
ฉะนั้นการที่รัฐบาลเปลี่ยนแนวนโยบายในการพัฒนาปศุสัตว์ โดยมีมาตรการใน
การเร่งรัดให้มีการเลี้ยงโคและกระบือเนื้ออย่างจริงจังเพื่อใช้บริโภคภายในประเทศนั้นจึงเป็นนโยบายที่เหมาะสมและทันต่อเวลา ซึ่งมีโอกาสที่จะประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก